ภิกษุผู้ไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท
ภิกษุผู้ไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท ไม่มีทางเสื่อม ย่อมอยู่ใกล้นิพพานเป็นแน่แท้
ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท คือการมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา
วันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพาน
หนฺท ทานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ นี่เป็นพระดำรัสสุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงรวบรวมพระโอวาททั้งปวงที่ได้ประทานมาตลอด ๔๕ พรรษานั้นลงในความไม่ประมาท
เข้าพรรษา เข้าถึงธรรม
เมื่อกล่าวถึงคำว่า "เข้าพรรษา" จะนึกถึงภาพที่พระภิกษุสงฆ์ท่านเดินลัดคันนา แบกกลด ฝนตก ชายจีวรเลอะเปรอะเปื้อนไปด้วยโคลนดิน แม้สาเหตุของการบัญญัติให้พระภิกษุจำพรรษาตลอดสามเดือนจะมีเหตุมาจากการที่ไม่ประสงค์ให้พระภิกษุไปเดินเหยียบย่ำข้าวกล้า ผลิตผลทางการเกษตรของชาวนา เพราะเป็นช่วงฤดูเพาะปลูก แต่ก็เป็นประโยชน์จากการที่พระสงฆ์ไม่ได้ออกนอกวัด ไม่ได้จาริกไปที่ไหน ทำให้ท่านได้อยู่กับที่ อยู่แต่ในวัด ได้มีเวลาประพฤติปฎิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น
ธุดงค์ธรรมชัย... จาริกไปเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน
ธุดงค์ธรรมชัย ... จาริกไปเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมต้อนรับพระธุดงค์ธรรมชัย ในโครงการธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย ระหว่างวันที่ 2-30 มกราคม พ.ศ. 2558 ดูแผนที่ http://www.dmc.tv/tudong โทร.02-831-1234
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้ เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด
เมื่อบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อใดบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท เมื่อนั้นเขานับว่าได้ขึ้นสู่ "ปราสาทคือปัญญา" ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชน ผู้โง่เขลา
หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
ท่านพิจารณาเห็นธาตุทั้งหลายว่าเป็นทุกข์แล้ว อย่าเกิดอีก ท่านสำรอกความพอใจในภพแล้ว จงเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไปเถิด
ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว
บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท
บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท จึงยินดีในความไม่ประมาท อันเป็นแนวทางของพระอริยะ