บวชพระ สนทนาธรรมชวนบวชพระเข้าพรรษา
บวชพระ เราทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าบุญที่เกิดจากการบวชพระมีมากมหาศาล แต่จะมาทบทวนความรู้ความเข้าใจเรื่องบุญกุศลที่ได้และให้เห็นความสำคัญของบุญกับการบวชพระ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - แผ่นดินไหวด้วยมหาทานบารมี
แผ่นดินอันใหญ่หนักด้วยของหนัก คือ คุณความดีของบุคคล จนไม่อาจรับไว้ได้ จึงสะเทือนสะท้านหวั่นไหว มหาบพิตร เกวียนที่บรรทุกหนักเกินไป จนดุมเกวียน กำเกวียน กงเกวียน รับไม่ไหว เพลาเกวียนก็หัก ฉันใด แผ่นดินใหญ่ก็หนักด้วยคุณความดีของบุคคล จนไม่อาจรับไว้ได้ จึงไหว ฉันนั้น
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - อานุภาพพระปริตร
เหมือนพญานกยูงได้เจริญพระปริตรทุกวัน นายพรานไม่อาจจับได้ตลอดถึง ๗ปี แต่เนื่องจากวันหนึ่ง พญานกยูงได้ยินเสียงนกยูงตัวเมีย ทำให้เช้าวันนั้นลืมเจริญพระปริตร จึงต้อง ไปติดบ่วงของนายพรานอย่างง่ายดาย หรือวิทยาธรตนหนึ่งลอบเป็นชู้กับพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ขณะกำลังจะถูกจับก็ทำตัวหายวับไปด้วยกำลังมนต์ วิทยาธรสามารถพ้นจากการถูกจับ ด้วยกำลังพระปริตรที่ตนท่องไว้จนขึ้นใจ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - เลิศเฉพาะทาง เลิศทุกทาง
พระเถระได้วิสัชนาว่า “ขอถวายพระพร ข้อที่ตรัสว่า พระมหาโมคคัลลานะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีฤทธิ์นั้นก็ถูก ข้อที่ว่าท่านถูกโจรทุบตีจนต้องนิพพานก็ถูก แต่การถูกทุบตีนั้น เป็นเพราะกรรมเข้ายึดไว้ คือ เป็นวิบากกรรมของท่าน ที่เคยถูกอกุศลเข้าสิงจิตให้กระทำปิตุฆาตและมาตุฆาตุ คือ ฆ่าพ่อฆ่าแม่มาก่อน ไม่มีใครหลีกเลี่ยงกฎแห่งการกระทำได้ สักวันย่อมต้องได้รับผลของกรรมนั้น”
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - สนทนาอย่างบัณฑิต
"ดูก่อนมหาบพิตร ถ้ามหาบพิตรจักสนทนาตามเยี่ยงอย่างบัณฑิต อาตมภาพก็พร้อมจะสนทนากับมหาบพิตร แต่ถ้ามหาบพิตรจักสนทนาตามเยี่ยงอย่างของพระราชา อาตมาก็จักไม่สนทนาด้วย" พระยามิลินท์ตรัสถามว่า “บัณฑิตทั้งหลายสนทนากันอย่างไร”
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ปุจฉา-วิสัชนา
ดังเช่นในสมัยพุทธกาล เหล่าทวยเทพในสวรรค์จะลงจากเทวโลก เพื่อมาฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านถือว่าการมาฟังธรรมเป็นกรณียกิจที่สำคัญ เทวดาแต่ละองค์ที่ลงจากเทวโลกในยามราตรี ต่างไม่มาเปล่า ไม่ใช่เตรียมมาฟังธรรมอย่างเดียว ท่านจะเตรียมคำถามที่ดีๆไว้อย่างน้อย ท่านละ ๑คำถาม เพื่อนำมาทูลถามพระพุทธองค์
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ตอบปัญหาธรรมะ
ครั้งนั้น มีลูกของเศรษฐีได้สนทนากันในเรื่องที่ว่า ทำอย่างไรจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อไม่รู้วิธี จึงได้ชักชวนกันออกแสวงหาธรรมะกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เมื่อได้รับการแนะนำจากอาจารย์ให้มาถามปัญหาธรรมะกับพระบรมศาสดา จึงพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - เกวียน ๗ ผลัด ทางลัดสู่นิพพาน
ครั้นพระปุณณะเดินทางมาถึง ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ตามลำพัง แล้วขอโอกาสลาไปนั่งปลีกวิเวกในป่าอันธวัน เมื่อพระสารีบุตรเถระทราบข่าวนั้น จึงรีบติดตามไป และได้สนทนาธรรมกับท่านว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออะไร” พระปุณณะตอบว่า “ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน”
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ไขปริศนาธรรม
พระพุทธองค์ผู้รู้แจ้งโลก ตรัสตอบว่า “บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ปัญญา บุคคลเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้ทำอะไรเหมาะสม ไม่ทอดธุระ ขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคลใดประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ บุคคลนั้น ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก”
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสชมพระเถระทุกรูปว่า วาจาของพระเถระทุกรูปต่างเป็นสุภาษิตเหมือนกัน เพราะทุกรูปปฏิบัติได้ตามปฏิปทาที่ตนเองพูด จากนั้นพระองค์ทรงพยากรณ์ว่า...“ภิกษุในศาสนานี้กลับจากบิณฑบาต ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ตราบนั้นเราจะไม่ลุกจากที่เลย ดูก่อนสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงดงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล”