America's largest Buddha statue in New Jersey
Buddha’s sacred remains go North
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า ครั้งที่5
พิธีมอบเครื่องอุปโภคบริโภคมีขึ้นเมื่อเวลา 9.30น.ของวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2551 ณ ห้องรับรองของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งชาติ เมืองย่างกุ้ง โดยมีตัวแทนองค์กรชาวพุทธจากนานานาชาติเป็นผู้มอบ ส่วนตัวแทนฝ่ายผู้รับมอบ ได้แก่ หลวงพ่อภัททันตะ กุมาระ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งชาติ เมืองย่างกุ้ง และ ฯพณฯ ตุระอองโก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการศาสนา พร้อมคณะ งานนี้มีล่ามแปลถึง 3ภาษา คือ ไทย จีน และพม่า
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า ครั้งที่4
พิธีมอบสิ่งของ มีขึ้นเมื่อเวลา 12.30น. ของวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2551 ณ ห้องรับรองมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งชาติ เมืองย่างกุ้ง ตัวแทนผู้มอบประกอบด้วย ฯพณฯ บรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง และคณะจากมูลนิธิธรรมกาย 11ท่าน ส่วนตัวแทนฝ่ายผู้รับมอบ ประกอบด้วย หลวงพ่อภัททันตะ กุมาระ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งชาติ ฯพณฯ ตุระ มินต์ เมือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนา และคณะ
ข่าวถึงลูกพระธัมฯทั่วโลก
สิ่งที่เป็นความต้องการอย่างมากในเวลานี้ นอกจากข้าวปลาอาหาร และเสื้อผ้าแล้ว ก็คือ สังกะสีมุงหลังคา เพราะว่าถูกพายุพัดพาหายไปเป็นจำนวนมาก เฉพาะที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ก็ยังขาดสังกะสีในการซ่อมแซมหลังคา อีกราว 10,000แผ่น
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า (2)
“กาลทาน” เป็นทานของผู้ฉลาด รู้จักคิดรู้จักทำได้ถูกกาลถูกเวลา ให้สิ่งของจำเป็นในยามที่ผู้รับมีความต้องการอย่างยิ่ง เพราะในเวลานี้น้ำทุกหยด ข้าวทุกเม็ด เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่งต่อทุกชีวิตที่กำลังประสบภัยพิบัติ ผู้ใดที่ให้ได้ถูกกาลเช่นนี้ ย่อมได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ จะไม่มีวันได้พบได้รู้จักกับความอดอยากยากเข็ญตลอดไป
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพม่า
มีพื้นที่ถูกประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ 5รัฐ ส่วนสถานการณ์ในเมืองย่างกุ้ง หลังโดนไซโคลนถล่ม หลายพื้นที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ต้นไม้และเสาไฟฟ้า หักโค่นล้มระเนระนาดกีดขวางถนน ประชาชนยังไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่มีน้ำกินน้ำใช้ และขาดแคลนอาหาร
ประเพณีการบวชลูกแก้ว
การบวชสามเณรลูกแก้วนี้เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาช้านานแล้ว ซึ่งสามเณรจะบวชจนเป็นพระ แต่เมื่อไฟฟ้าเข้าถึง และมีทีวี ก็ทำให้คนสอนยากขึ้น เด็กเห็นตัวอย่างจากในทีวีก็อยากเอาเป็นแบบอย่าง ทำให้สามเณรที่เคยบวชอยู่นานจนเป็นพระ ลาสิกขาออกไปมาก พระตามวัดก็เหลืออยู่น้อย
วันออกพรรษาของชาวเชียงตุง
ประเพณีชาวพุทธที่สำคัญ และทำกันในวันนี้ทั่วทั้งเวียงเชียงตุง ในวันออกพรรษา คือ ประเพณีสัมมาคารวะผู้เฒ่า-ผู้แก่ ลูกหลานจะมาวัด มาสัมมาคารวะผู้เฒ่า-ผู้แก่ทุกคนที่มาวัด แม้ว่าจะไม่ใช่ญาติของตนก็ตาม โดยจะนำเทียน ดอกไม้ ของกิน ของใช้ ยารักษาโรค หรืออาจจะใส่เงินไว้ในพานด้วยก็ได้ (แล้วแต่ความพร้อมของแต่ละคน) ใช้เป็นสิ่งแทนในการสัมมาคารวะ และจะท่องบทสวดมนต์เป็นภาษาบาลี
เทศกาลออกพรรษาที่เชียงตุง
พระพุทธศาสนาในเชียงตุง เราจะไม่ทอดทิ้งกัน แม้ว่าจะมีความหลากหลายของเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ แต่วัดคือศูนย์รวมจิตใจ ให้ชาวเชียงตุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยไม่จำกัดว่า วัดนี้เป็นของใคร ส่วนใหญ่ชาวเชียงตุงจะมีวัดที่ไปบ่อยๆ หรือเป็นวัดที่บรรพบุรุษช่วยกันสร้าง แต่ประเพณีของเรา จะปลูกฝังให้ชาวเชียงตุงรักการทำบุญ และนิยมไปทำบุญกันหลายๆวัด จะเอาประเพณีเป็นตัวผลักดัน เรียกว่า สุข-ทุกข์ ก็ให้ไปวัด แม้ไม่มีอะไรมีแต่มือเปล่าก็มาวัดได้