เทพบุตรมาร (๒)
รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น สัมผัสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่ารักน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารครอบงำ เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้น มารผู้มีบาปพึงใช้บ่วง ทำตามความปรารถนาไม่ได้
ควรพิจารณากิจของตน
บุคคล ไม่ควรใส่ใจคำก้าวร้าวของคนอื่น ไม่ควรมองการงานของคนอื่น ว่าเขาทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ ควรพิจารณาดูแต่การงานของตน ที่ทำเสร็จแล้วหรือยังไม่ได้ทำเท่านั้น
ผู้นำประโยชน์สุขมาให้แก่ชาวโลก
ผู้ใดเป็นคนฉลาด แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม และเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้เป็นเช่นนั้นท่านเรียกว่า เป็นผู้ยังหมู่ให้งดงาม
ครุกรรม (๒)
ผู้ใดไม่มีกรรมที่ทำชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ เราเรียกผู้นั้น ซึ่งสำรวมดีแล้ว โดยฐานะทั้งสามว่าเป็นพราหมณ์
เราชนะแล้ว
เพราะความตระหนี่และความประมาท คนเราจึงให้ทานไม่ได้ ผู้มีปัญญาเมื่อต้องการบุญ พึงให้ทานเถิด
การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก
การได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นการยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก
สัตถันตรกัป ๗ วัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่ง อันข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมารเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญจะเจริญขึ้นได้ เพราะเหตุที่ถือมั่นในกุศลธรรมทั้งหลาย
เส้นทางจอมปราชญ์ (๘)
ผู้ทำบุญแล้วย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมบันเทิงในโลกหน้า ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง เมื่อมองเห็นความบริสุทธิ์แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงปราโมทย์ยิ่งๆ ขึ้นไป
มหาสมบัติจักรพรรดิ (๑)
ความเป็นพระราชาประเทศราช ความเป็นใหญ่ สุขของพระเจ้าจักรพรรดิที่น่าปรารถนา แม้ความเป็นราชาแห่งเทวดาในทิพยวิมาน อิฐผลทั้งหมดนั้นอันเทวดาและมนุษย์ ย่อมได้ด้วยขุมทรัพย์คือบุญนี้
ฆราวาสธรรม
บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก