มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ๓๐ ปีที่รอคอย
"ท่านอาจารย์ผู้ว่างเปล่า อย่าทำตนเป็นผู้ไม่ว่างอยู่เลย ท่านไม่รู้ตัวหรือว่าขณะนี้ท่านเป็นผู้ที่ประมาทแล้ว ตัวของท่านเป็นเสมือนแผ่นกระดานสำหรับให้คนทั้งหลายเดินข้ามไป ท่านเป็นที่พึ่งให้แก่คนอื่นก็จริงอยู่ แต่ท่านไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับตนเองได้ แล้วจะมีประโยชน์อะไร..."
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ต่างวิธีการ แต่เป้าหมายเดียวกัน
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงวิธีการทำใจให้สงบไว้ ๔๐วิธี ซึ่งทั้งหมดนั้น เราสามารถเลือกปฏิบัติวิธีการใดวิธีการหนึ่ง สองหรือสามวิธีการพร้อมกันก็ได้ ตามแต่จริตอัธยาศัยของแต่ละคน แต่สุดท้ายก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการความสงบของใจ เมื่อใจรวมหยุดนิ่ง ก็จะดิ่งเข้าสู่กลางภายในตรงศูนย์กลางกายฐานที่๗ และจะได้ตรัสรู้ธรรมไปตามลำดับ
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - โลกตระการของคนเขลา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ตรัสถึงการให้ทานว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะเป็นการขจัดความตระหนี่ออกจากใจ จะได้เป็นบุญกุศลติดตัวข้ามภพข้ามชาติ เกิดมากี่ภพกี่ชาติจะได้ไม่ต้องลำบากในการทำมาหากิน จะได้สร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย แล้วจึงตรัสเรื่องการรักษาศีล ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งมวลที่จะทำให้มีความสุข ความบริสุทธิ์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - แม้ตายก็ไม่ทิ้งธรรม
คืนนั้น มีนายพรานคนหนึ่งเห็นท่าน คิดว่าเป็นเนื้อ พุ่งหอกออกไป หอกได้ปักทะลุอก ครั้นนายพรานเห็นว่าเป็นพระ ก็ตกใจรีบเข้าไปหา พระเถระตั้งสติใจไม่เคลื่อนจากฐานที่ตั้งของใจ ท่านขอให้นายพรานชักหอกออก แล้วเอาเกลียวหญ้าอุดปากแผลไว้ แม้เลือดจะไหลไม่หยุด แต่สภาวะใจของท่านยังคงสงบนิ่งไม่กระเพื่อม ท่านตั้งใจมั่นว่าจะเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แม้ตายจะไม่ทิ้งธรรม
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - พรรษาแห่งการบรรลุธรรม
แม้ดวงตาภายนอกจะมืดบอด แต่ตาภายใน คือ ธรรมจักษุของท่านนั้น สว่างไสวยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน เป็นแสงสว่างที่นำมาซึ่งความสุข ความบริสุทธิ์ และความรู้แจ้งในธรรมทั้งหลาย แทงตลอดในนิพพาน ภพสาม โลกันตร์ อีกทั้งในพรรษานั้น ท่านยังได้สั่งสอนลูกศิษย์และพุทธบริษัทให้ได้บรรลุธรรมกันมากมาย
มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ - เพียงพบเห็นก็เป็นมงคล
วันรุ่งขึ้น เขาได้จัดแจงตระเตรียมอาหารอย่างดี ไปหาพระเถระตั้งแต่เช้า และได้ยืนอยู่ในที่ท้ายสุดของหมู่ชน เขามองดูพระเถระแต่ไกล ยืนไหว้ท่านอยู่ตรงนั้น จากนั้นจึงเดินเข้าไปใกล้ท่านด้วยความปีติยินดี จับข้อเท้าของพระเถระไว้แน่น ไหว้ด้วยความนอบน้อมอีกครั้ง พร้อมกับกล่าวว่า “พระคุณเจ้าสูงมากนะขอรับ”
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - ทางมาแห่งคุณธรรม
เพราะฉะนั้น เวลามีใครมาชี้โทษตักเตือนเรา ก็อย่าได้ขุ่นมัว ถ้าเราพิจารณาดูแล้วพบว่า เราผิดจริงก็แก้ไขปรับปรุงเสีย ถ้าไม่ผิดก็รับฟังด้วยความเคารพ แล้วค่อยๆ ปรับความเข้าใจในภายหลัง ให้คิดว่าผู้ที่คอยชี้โทษหรือบอกข้อบกพร่องให้เรานั้น เป็นผู้มาชี้บอกขุมทรัพย์ให้แก่เรา เราจะได้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองให้ยิ่งๆขึ้นไป
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - มหาสมุทรแห่งคุณธรรม
คนว่าง่ายมีความเคารพเชื่อฟัง และตั้งอยู่ในโอวาทของผู้มีคุณธรรม ย่อมจะได้รับการถ่ายทอดคุณงามความดี จะเป็นที่มานอนแห่งสิริมงคลทั้งปวง โสวจัสสตา คือ ความเป็นผู้ว่าง่าย จะเกิดขึ้นกับเราได้ก็ต่อเมื่อเรามีความสำนึกอยู่เสมอว่า ยังมีสิ่งที่เราจะต้องฝึกฝนอบรมตนเองอีกมาก แล้วหมั่นสังเกต หมั่นแสวงหาความรู้ และคุณธรรมจากผู้อื่นอยู่เสมอ
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - มองโลกในแง่ดี
การสร้างบารมีในสภาวะปัจจุบันนี้ เราต้องคบค้าสมาคมกับบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งต่างจิตต่างใจ ต่างอัธยาศัยกัน มีทั้งคนพาลและบัณฑิตปะปนกันอยู่ บางครั้งอาจจะมีอุปสรรคบ้าง แต่ก็อย่ายอมแพ้ ให้สู้ต่อไป สู้ด้วยธรรมสู้ด้วยความถูกต้องดีงาม เพราะเราปรารถนาจะช่วยเหลือชาวโลกให้พ้นจากความทุกข์
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ - ขาดความเคารพ พบความพินาศ
วันหนึ่ง ลูกสาวของช่างทอหูกออกจากบ้านไปเก็บดอกบัวที่สระน้ำ เก็บดอกบัวไปพลาง ร้องเพลงไปพลาง สามเณรเหาะไปใกล้บริเวณสระบัวแห่งนั้น เกิดติดใจเสียงขับร้องของนาง กามราคะที่ข่มไว้ด้วยอำนาจฌานสมาบัติก็ฟูขึ้นท่วมทับจิตใจ ทันใดนั้นเอง ฤทธิ์ของสามเณรก็เสื่อม ไม่อาจเหาะได้ ดุจกาปีกหัก