สรณะอันเกษม
มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง สรณะนั่นแลไม่เกษม สรณะนั่นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม สรณะนั่นอุดม เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ความรู้เรื่องธรรมกาย
ธรรมกาย คือ อะไร ในตัวของเรามีธรรมกายหรือไม่ ธรรมกายมีลักษณะอย่างไร ต้องประพฤติธรรมหมวดใด จึงจะเข้าถึงธรรมกาย การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรมกาย ต้องทำอย่างไร หลักฐานคำว่า “ธรรมกาย” มีอยู่ที่ใดบ้าง รวมข้อมูลธรรมกาย ที่นี่
สมณะแท้ คือผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย
บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงกันได้ ๘ บุรุษ คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ที่ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ควรแก่การรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี และเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง ในพระสงฆ์หมู่ นั้น
ไม่มีอะไรสายเกินไป
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง
ความปรารถนาของบัณฑิต
บุคคลควรคบหากับสัตบุรุษ ควรทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะเมื่อบุคคลรู้ทั่วถึงธรรมของสัตบุรุษแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
ครุกรรม (๒)
ผู้ใดไม่มีกรรมที่ทำชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ เราเรียกผู้นั้น ซึ่งสำรวมดีแล้ว โดยฐานะทั้งสามว่าเป็นพราหมณ์
ภูมิของพระสกทาคามี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๒ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้เป็นสกิทาคามีเพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เพราะความที่ราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง จะกลับมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้คือสมณะที่ ๒ ในพระศาสนา
อานิสงส์รักษาศีลครึ่งวัน
สิกขาบททั้ง ๕ เหล่านี้ ถ้าหากสมาทานและรักษาไว้ดีแล้ว ศีลจะเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ จะทำให้เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์สมบัติ และเพราะศีลนั่นเองจะทำให้เราเข้าถึงพระนิพพานได้ ฉะนั้น ท่านสาธุชนพึงชำระศีลของตัวเองให้หมดจดเถิด
อานิสงส์ถวายน้ำผึ้ง
ขุมทรัพย์ คือบุญนี้ ให้สมบัติน่าใคร่ทุกอย่างแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้ เหล่าเทวาและมนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาผลใดๆ ผลนั้นๆ ทั้งหมด สำเร็จได้ด้วยบุญนิธินั่น
นิพพาน บทสรุปของชีวิตในสังสารวัฏ ตอนที่ 3
ว่า นิพพานมีอย่างเดียว แต่มองเป็น 2 ด้าน ด้านที่หนึ่งคือ นิพพานในแง่ของความสิ้นกิเลส ซึ่งมีผลต่อการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก หรือต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านที่สอง คือ นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะจำเพาะล้วนๆ แท้ๆต