อนุสาสิกชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องดีแต่พูด
ในนครสาวัตถี ยังมีภิกษุณีผู้ชอบพร่ำสอนอยู่รูปหนึ่ง มีนิสัยชอบสั่งสอนและมักห้ามภิกษุณีรูปอื่น ๆ มิให้เข้าไปในที่หวงห้าม แต่ตนเองก็มิได้กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี กลับละเมิดเข้าไปในที่หวงห้ามเสียเอง
เสยยชาดก ชาดกว่าด้วยคบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
เมื่ออำมาตย์ผู้หนึ่งได้มีโอกาสไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงตรัสถามถึงเรื่องการถูกใส่ร้ายจนต้องราชทัณฑ์ “ แม้หม่อมฉัน จะถูกจองจำใส่โซ่ตรวน แต่สิ่งนี้กลับทำให้หม่อมฉันได้รับประโยชน์ คือได้โอกาสปฏิบัติธรรม จนได้เห็นดวงตาแห่งธรรมพะยะค่ะ ”
วิโรจนชาดก ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว
พระเทวทัตเถระมีญาณเสื่อมบังเกิดอิจฉาริษยาในบารมีของพระพุทธองค์และบังอาจตั้งกฎขึ้นปกครองสงฆ์ขึ้นแข่งขัน แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตนำมาปฏิบัติ พระเทวทัตซึ่งถือตนว่าเป็นพระญาติและมีทุกสิ่งทัดเทียมเช่นกันกับพระพุทธเจ้าเมื่อถูกขัดใจก็ขุ่นเคืองจึงวางแผนแยกคณะสงฆ์ออกจากพระศาสดา และได้ทำการชักชวนภิกษุบวชใหม่ในสำนักของพระโมคคัลลาและสำนักพระสารีบุตรจำนวน ๕๐๐ รูปให้ติดตามไปตั้งคณะสงฆ์ใหม่
สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
ลูกสุนัขน้อยตัวหนึ่งถูกนำมาเลี้ยงโดยผู้ดูแลหอฉันในพระอาราม ด้วยความน่ารักและเฉลียวฉลาดลูกสุนัขจึงเป็นที่รักและเอ็นดูของภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าคนหนึ่งนำภัตตาหารมาถวายพระ เมื่อเห็นลูกสุนัขก็เกิดความเอ็นดู เลยขอซื้อลูกสุนัขเพื่อไปกำนัลผู้ใหญ่ ในระหว่างการเดินทางลูกสุนัขได้กัดเชือกที่ผูกล่ามตน แล้วเดินทางกลับมาหาเจ้าของผู้เลี้ยงคนเดิมยังโรงฉันในพระอาราม
สกุณาชาดก ชาดกว่าด้วยที่พึ่งให้โทษ
ในกาลก่อนพระภิกษุเมื่อออกบวชแล้ว ต่างก็มีวิธีในการแสวงธรรมต่างกันออกไป บ้างก็ศึกษาพระธรรมในพระอาราม บ้างก็ในป่าใหญ่ ดังเช่นภิกษุบวชใหม่รูปหนึ่งได้เลือกออกไปปฏิบัติธรรมในป่าแห่งหนึ่ง เมื่อเข้าฤดูแล้งป่าที่เคยชุ่มชื่นก็แห้งแล้งร้อนระอุ เมื่อกิ่งไม้ใบไม้เสียดสีกันมากๆ ก็เกิดเป็นเปลวไฟลุกไหม้ลามมาถึงบรรณศาลาของภิกษุ เมื่อไฟมอดลงบรรณศาลาของภิกษุก็เหลือแต่ซากเถ้าถ่าน ภิกษุจนปัญญาที่จะสร้างศาลาใหม่ได้ จึงออกจากป่าไปขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน
เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
พระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงพาราณสี พระองค์ทรงชอบการกลั่นแกล้งทรมานคนแก่ชราและสัตว์ที่แก่ไร้เรี่ยวแรง นำมากลั่นแกล้งในรูปแบบต่าง ๆ จนท้าวสักกะทนไม่ไหวจำต้องเสด็จลงมาใช้อุบายทำการสั่งสอนให้พระองค์ได้ทรงสำนึกในการกระทำที่ไม่สมควร
จัมมสาฏกชาดก ชาดกว่าด้วยนักบวชไหว้แพะ
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภปริพาชกชื่อ จัมมสาฏก จีงทรงตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้ กาลครั้งนั้นมีปริพาชกผู้หนึ่งบำเพ็ญตบะด้วยการเปลือยกาย มีเพียงผิวหนังเท่านั้นเป็นเครื่องนุ่งห่ม
กฏาหกชาดก ชาดกว่าด้วยคนขี้โอ่
ในกาลนั้น ยังมีภิกษุรูปหนึ่งถึงพร้อมด้วยความฉลาดเฉลียว แต่กลับมีนิสัยขี้โอ่ เที่ยวอวดตนข่มท่านไปทั่ว จนเป็นที่เอือมระอาต่อเหล่าภิกษุด้วยกัน “นอกจากพระศาสดาแล้ว ในพระเชตวันแห่งนี้ ก็จะหาใครที่ฉลากว่าข้าไม่มีอีกแล้ว ฮ่าๆๆ ข้าภูมิใจตัวเองจริงๆ ฮ่าๆๆ ” “ ดูสิท่าน ภิกษุขี้โอ่รูปนั้น เดินมาทางนี้แล้ว ” “ กระผมว่าเราไปที่อื่นกันดีกว่านะท่าน ”
จุลลโพธิชาดก ชาดกว่าด้วยความโกรธ
ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่าความโกรธ เธอควรจะห้ามเสีย อันความโกรธเห็นปานนี้ ที่จะทำประโยชน์ให้ในโลกนี้และโลกหน้าเป็นไม่มี เธอบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าที่ไม่โกรธแล้ว เหตุไรจึงยังโกรธเล่า
โกสัมพิยชาดก ชาดกว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
“ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วย ทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า