ทุ สะ นะ โส
บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว
กันทคลกชาดก
ชาดกว่าด้วยเรื่องนกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น
นิสัยดีมีอุปการะต่อการรักษาสมดุลโครงสร้างของร่างกาย
การปฏิบัติตัวเพื่อรักษาโครงสร้างของร่างกายให้สมดุลอยู่เสมอ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง นับตั้งแต่มีสุขภาพแข็งแรง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ มีอายุขัยยืนยาว สามารถใช้ร่างกายนี้สร้างความดี สร้างบารมีได้อย่างเต็มที่ สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ไม่ควรประมาทในชีวิต
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พลางทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ว่า ทำไมอายุของมนุษย์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย มีความสั้นยาว ไม่เท่ากัน บาง ยุคมนุษย์มีอายุตั้ง ๘๐,๐๐๐ ปี และทำไมบางยุค อายุของมนุษย์สั้นเหลือเพียง ๑๐ ปี พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จะนิยมลงมาอุบัติในโลกมนุษย์ ในยุคที่มนุษย์มีอายุยืนยาวสักเท่าใด
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ทางแห่งความเสื่อม
การดำรงตนให้หนักแน่น มั่นคงอยู่บนความเป็นมงคลนั้น ย่อมนำสิ่งที่ดีมาให้กับชีวิตของเรา มงคล แปลว่า เหตุแห่งความเจริญ หากรู้เช่นนี้แล้ว เราจะเป็นผู้ที่ห่างไกลจากเหตุแห่งความเสื่อม ทางแห่งความเสื่อมนี้ เคยมีคนสงสัยเหมือนกันว่า ผู้ที่เสื่อมกับผู้ที่เจริญนั้น พวกเขาดำรงตนอยู่บนเส้นทางเช่นไร
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - ชีวิตและชาติพินาศเพราะสุรา
สุรา ดื่มแล้วจะเมามายขาดสติเดินโซเซตกลงไปในบ่อ ในหลุมน้ำครำ หรือหลุมโสโครกก็ได้ จะกล้ากินของที่ไม่ควรกิน จะเที่ยวไปในที่ต่างๆ โดยไม่มีจุดหมาย จะทำตัวเหมือนคนอนาถา กล้าฟ้อนรำขับร้องโดยไม่อายใคร กล้าเปลือยกายเดินตามถนนหนทาง จะมีจิตลุ่มหลง นอนตื่นสาย แม้ไฟไหม้ก็ยังนอนอยู่ได้ จะนอนจมอยู่ในอาเจียนของตนก็ได้ จะนั่งคุยโวพร่ำเพ้อในที่ประชุมชน และมักจะทำสิ่งทุจริตต่างๆ จนถูกจองจำ ถูกฆ่า และเสื่อมจากโภคทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - วาจาอันเป็นที่รัก
ภรรยาของบุรุษมีอยู่ ๗ จำพวก เธอเป็นภรรยาพวกไหนใน ๗ จำพวกนั้น (พระบรมศาสดาตรัสถามนางสุชาดา) แล้วภรรยา ๗ จำพวกนั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เช่น ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต , ภรรยาเยี่ยงโจร ฯลฯ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - พฤติกรรมที่ชักนําให้เสื่อม
เรื่องนี้มีข้อคิดหลายอย่าง ทั้งเรื่องกฎ แห่งกรรม ความสำคัญของใจในช่วงสุดท้ายตอนศึกชิงภพ และเรื่องความฉลาดในการสอบสวน จนสามารถรู้ถึงเหตุที่แท้จริงจากผลที่เกิดขึ้น เรื่องการเป็นคนช่างสังเกต รู้ว่าใครเป็นพาล เป็นบัณฑิต เป็นมิตรหรือศัตรู
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑๓ ( บริจาคพระนางมัทรี )
เราตถาคตเมื่อสละชาลีโอรส กัณหาชินาธิดา และ มัทรีเทวี ผู้เคารพต่อภัสดา มิได้คิดเสียดายเลย เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น ลูกทั้งสองเป็นที่เกลียดชังของเราก็หามิได้ มัทรีเทวีไม่เป็นที่รักของเราก็หามิได้พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรายิ่งกว่า เพราะฉะนั้นเราจึงได้ให้บุตรธิดา และเทวีผู้เป็นที่รักเสีย
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๙ ( ชูชกขอโอรสธิดา )
บุคคลไม่อาจให้สิ่ง ๓ อย่างเต็มได้ คือ ไฟเต็มด้วยเชื้อ มหาสมุทรเต็มด้วยน้ำ คนมีความอยากมากเต็มด้วยปัจจัย