มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ผู้ดื่มรสแห่งธรรม
ภิกษุผู้ที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบได้แม้แต่ข้อเดียว จึงนั่งก้มหน้านิ่งอยู่ ส่วนภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระอรหันต์ สามารถตอบปัญหาธรรมได้ทุกข้อ อย่างแจ่มแจ้งฉะฉานไม่มีติดขัด พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญ ชื่นชม อนุโมทนาสาธุการพระเถระ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ชีวิตใหม่ในเพศสมณะ
พระภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนา คือ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทั้งทุกข์ประจำและทุกข์จร ไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นสูง ชั้นกลาง หรือชั้นล่าง ต่างก็มีทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงสละเพศฆราวาส ออกบวชเป็นบรรพชิต ปลงผมและหนวด ละทิ้งเครื่องนุ่งห่มที่มีราคาของคฤหัสถ์
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ความไม่ประมาท
แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานในแคว้นกุรุ ยังประกอบด้วยการเจริญสติถึงเพียงนี้ ไม่ยอมเป็นผู้ประมาทในชีวิตแม้มีมรณภัยมาถึง เราทุกคนซึ่งได้โอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ มีชีวิตที่ประเสริฐกว่า มีสองแขนสองขา มีสติปัญญา สามารถทำความดี ได้เต็มที่มากกว่า เราจึงควรดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เลิกตระหนี่ตลอดไป (๑)
บุญเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต ถ้ามีบุญน้อย อุปสรรคก็มาก ถ้ามีบุญมาก อุปสรรคก็น้อย บุญเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตของพวกเราที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด สร้างบารมีเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือ ที่สุดแห่งทุกข์ ที่สุดแห่งธรรม
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๑ )
สัมมาทิฏฐิเบื้องต้นทั้ง ๑๐ ประการนี้ เปรียบเสมือนลู่ที่ให้เราวิ่งไปตามทาง เหมือนแสงทองส่องนำชีวิตให้ก้าวไปสู่ความสุขความสำเร็จ จึงต้องตอกย้ำบ่อยๆ เพื่อเป็นการทบทวนด้วยว่า เรามีสัมมาทิฏฐิครบถ้วนบริบูรณ์แล้วหรือยัง
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๙ ( แก้ปัญหาเทพ )
ครั้งนี้ถึงตอนที่มโหสถบัณฑิตมารับราชการตามเดิมแล้ว และจะต้องตอบคำถามที่พระราชาทรงสดับมาจากเทวดา พระราชาได้ตรัสถามมโหสถบัณฑิตว่า เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่เศวตฉัตร ได้ถามปัญหา ๔ ข้อ กับเรา เราไม่รู้คำตอบของปัญหา ๔ ข้อนั้น อาจารย์ทั้ง ๔ คน ก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ท่านจงช่วยกล่าวแก้ปัญหาทั้ง ๔ ข้อ