อยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม
ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุสี่ที่ไม่บริสุทธิ์จึงเสื่อมสลายตลอดเวลา ทำให้ต้องหา ธาตุสี่จากภายนอกมาเติมเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด ดังที่เราต้องประกอบกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติมธาตุสี่ แต่กายนั้นก็ทำกรรมตามที่ใจของเราเป็นตัวสั่งการ ส่วนของใจทำหน้าที่รู้และคิด ส่วนของกายพูดและทำ
บุญไม่มีขายอยากได้ต้องทำเอง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสพระคาถาว่า “ปุญฺญญฺ เจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย” แปลความว่า ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่าความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข.
กำหนดการวันลอยกระทง ณ วัดพระธรรมกาย (วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
ขอเชิญร่วมพิธีลอยกระทงธรรม และฉลองชัยสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 (วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
สังคหวัตถุ-4-หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ท่านทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า การที่เรามาอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงได้ให้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างเป็นสุขคือ สังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม 4 ข้อ ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และ สมานัตตา โดยมีรายละเอียดแต่ละข้อดังนี้
ความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย
คำว่า ธรรมกาย เป็นศัพท์สมาส ที่อาจแปลเป็นคำคุณศัพท์ว่า ผู้มีธรรมเป็นกาย หรืออาจแปลเป็นคำนามก็ได้ว่า กายแห่งธรรม กายคือธรรมหรือ กายที่ประกอบด้วยธรรม
ภพสาม คุกใหญ่ของสรรพสัตว์
ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ ผู้ทำบาปอกุศล ย่อมเข้าถึงนรก ผู้สั่งสมความดีเป็นเหตุสุคติ ย่อมไปสู่สวรรค์ ผู้ไม่มีกิเลสอาสวะ ย่อมปรินิพพาน
วิธีตัดเหตุแห่งทุกข์
ตัณหาทำให้คนเกิด จิตของผู้มีตัณหาย่อมซัดส่ายไปมา หมู่สัตว์มัวท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของเขา
อสุรกายภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกมีน้อย โดยที่แท้สัตว์ทั้งหลาย ที่ตายจากมนุษย์ไปแล้ว ย่อมไปเกิดในเปตวิสัย มีประมาณมากกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่จุติจากเปตวิสัยไปแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ที่จุติจากเปตวิสัยไปแล้ว ย่อมกลับไปเกิดในเปตวิสัย ในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน มีประมาณมากกว่า
บัณฑิตควรตักเตือนกัน
คนเราควรเตือนสติกัน ควรแนะนำกัน และควรห้ามปรามกันจากอกุศลกรรม คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี