มตกภัตตชาดก ชาดกว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
“เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้ สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาต ไม่ควรฆ่าสัตว์ด้วยเหตุผลดังนี้”
นิโครธมิคชาดก ชาดกว่าด้วยการเลือกคบ
นิโครธมิคชาดก บางครั้งการเคร่งครัดต่อกฏระเบียบข้อบังคับมากเกินไปจนลืมนึกถึงเหตุและผลที่สมควร ก็กลับกลายเป็นเรื่องที่ขาดคุณธรรมไปได้ ติดตามเรื่องราวการปกครองเหล่าบริวารของพญากวางสาขะและพญากวางนิโครธะ ชึ่งให้ข้อคิดและสามารถนำมาปรับใช้กับหลายๆ เหตุการณ์ในปัจจุปันได้
กาญจนักขันธชาดก ชาดกว่าด้วยธรรมะมีค่าดั่งทองคำ
ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี มีชายชาวนาผู้ขยันคนหนึ่ง ได้จับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพื่อถากถางเป็นที่นาของตน ซึ่งที่ดินแห่งนี้เมื่อในอดีต เคยเป็นที่ตั้งบ้านของเศรษฐีผู้มาก่อน วันหนึ่งขณะที่กำลังไถนาอยู่นั้น ผานไถ ( เหล็กสำหรับสวมหัวหมูเครื่องไถ) ก็ไปสะดุดติดอยู่กับของแข็งๆ ท่อนหนึ่งในดิน เขาจึงเอามือขุดคุ้ยก้อนดินดู ปรากฎเป็นแท่งทองคำขนาดใหญ่ฝังอยู่ในดิน
ตโยธัมมชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ธรรม 3 ประการ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาจะปลอบใจพระภิกษุทั้งหลาย ให้คลายความวิตกกังวลห่วงใยในพระองค์ และเลิกใส่ใจในการกระทำของพระเทวทัต เพราะพระเทวทัตมิได้ตามจองล้างจองผลาญพระองค์ เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อนๆ ก็ได้พยายามทำร้ายพระองค์มาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่เคยทำได้สำเร็จเลยสักครั้ง
สูกรชาดก ชาดกว่าด้วยสุกรท้าสู้ราชสีห์
ราชสีห์ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำ วันหนึ่งมันเดินไปกินน้ำในสระ ซึ่งเป็นที่รวมของบรรดาสัตว์ทั้งหลาย เพื่อมากินน้ำ ระหว่างน้ันมันมองเห็นหมูตัวหนึ่งเที่ยวหากินอยู่ริมสระ มันจึงเดินหลบไป กลัวหมูจะเห็น และเกรงว่าวันถัดไปหมูจะไม่กล้ามาที่สระน้ำอีก เจ้าหมูเหลือบไปเห็นเข้าพอดี ก็เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าราชสีห์กลัวตน จึงวิ่งเข้าไปท้าทายขอต่อสู้กับราชสีห์
วินีลกชาดก ชาดกว่าด้วยการเลือกทำเลผิด
ครหิตชาดก ชาดกว่าด้วยลิงติเตียนมนุษย์
วานรทั้งฝูงเมื่อได้รู้ถึงพฤติกรรมของมนุษย์เช่นนั้นก็พากันติเตียน บ้างก็ชำระล้างหูของตน แล้วร่วมใจกันย้ายถิ่นฐานให้ไกลจากมนุษย์ เข้าไปในป่าลึกสุดๆ ของหิมพานต์
กกัณฏกชาดก ชาดกว่าด้วยกิ้งก่าได้ทรัพย์
พระราชาได้เสด็จไปยังพระราชอุทยาน ก็ทรงมองหาเจ้ากิ้งก่าตัวนั้น “ มโหสถ เจ้ากิ้งก่าตัวนั้นมันหายไปไหนสะแล้วล่ะ ” “ มันอยู่บนเสานั้นแหละพระเจ้าค่ะ ” เจ้ากิ้งก่านั้น แม้เห็นว่าพระราชาทรงเสด็จมา ก็ไม่ได้ลงจากปลายเสาค่าย เพื่อทำความเคารพพระราชาเช่นเดิม ด้วยเพราะมันเข้าใจว่าตนเองมีทรัพย์เสมอพระราชา มันจึงทำตนเสมอพระราชาด้วย
สาลิยชาดก ชาดกว่าด้วยหมอผู้โชคร้าย
หมอพิการคนหนึ่ง ได้วางแผนให้เด็กน้อยลูกพ่อค้าปีนต้นไม้ไปเอาลูกนกสาลิกาในโพรงไม้ ซึ่งความจริงแล้วมีงูอยู่ในโพรงไม้นั้น เด็กน้อยหลงเชื่อปีนขึ้นไป เด็กน้อยจับหัวงูได้ก็เหวี่ยงทิ้งทันที ด้วยบุพกรรมที่ทำร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน เด็กน้อยลูกพ่อค้าเหวี่ยงงูเห่ามาทางหมอพิการพอดี งูพิษพันคอหมอพิการ แล้วฝังคมเขี้ยวฉีดพิษร้าย หมอพิการดิ้นทุรนทุรายอย่างทรมาน มิสามารถเยี่ยวยาได้ทัน
มาลุตชาดกว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่
มาลุตชาดก ขึ้นชื่อว่า ทิฐิมานะ นั้นถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้วก็ยากที่จะแก้ไขได้ตราบเท่าที่ยังหลงยึดมั่นแต่ความคิดเห็นของตัวเป็นหลัก ดังตัวอย่างใน มาลุตชาดก ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้