สุวรรณสามชาดก ชาดกว่าด้วยผู้บำเพ็ญเมตตาบารมี
ข้าพเจ้าเป็นบุตรฤาษี ชื่อว่าสุวรรณสาม บัดนี้บาดเจ็บสาหัสต้องตายด้วยคมศรของท่าน ทุกข์อันสาหัสนี้เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่เกิดในโลก ข้าพเจ้าจึงไม่ได้โกรธเคืองท่าน สงสารแต่บิดามารดาผู้ตาบอด ซึ่งมีเพียงข้าพเจ้าเท่านั้นที่ดูแล เมื่อขาดอาหารและน้ำ ท่านทั้งสองก็คงต้องตายตาม ทุกข์ที่พลัดพรากจากบิดามารดาผู้ไร้คนดูแลนั้นยิ่งใหญ่กว่าทุกข์ที่จะต้องตายด้วยคมศรนี้หลายเท่านัก
ขันธปริตตชาดก ชาดกว่าด้วยพระปริตรป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ
ณ ที่ฝั่งแม่น้ำที่คณะฤาษีของพระโพธิสัตว์อาศัยอยู่นั้น มีงูพิษนานาชนิดอาศัยอยู่ งูได้กัดฤาษีเสียชีวิตไปหลายตน พระโพธิสัตว์เห็นว่าฤาษีทั้งหลายต่างพากันหวาดกลัวงูพิษนั้น จึงเรียกประชุมและให้โอวาทแก่ฤาษีทั้งหลาย “ หากพวกท่านเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ งูทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกท่าน "
ขรัสสรชาดก ชาดกว่าด้วยบุตรที่มารดาละทิ้ง
วันหนึ่ง มีบัณฑิตผู้หนึ่งได้เดินทางไปพักที่ในหมู่บ้านนั้น เขาได้เห็นอำมาตย์ผู้นี้ เวลาจะเดินทางไปไหน ต้องมีคนตีฆ้องกลองนำหน้า มีบริวารห้อมล้อมเป็นที่เอิกเกริกใหญ่โต “ เวลาใดที่พวกโจรมาปล้นบ้าน เผาบ้านเรือน ฆ่าโคกิน แล้วจับเอาคนไปเป็นเชลยนั้น เมื่อนั้นบุตรธิดาละทิ้งแล้ว จึงมาตีกลองเสียงอึกทึก โดยแท้จริงอำมาตย์ผู้นี้เองเป็นคนทุจริต เป็นผู้สมคบกับโจร ”
อุจฉังคชาดก ชาดกว่าด้วยหญิงผู้มีใจรักพี่รักน้อง
หญิงสาวชาวนาจำเป็นต้องเลือกขอชีวิต สามี พี่ชาย และลูกชายได้เพียงคนเดียวเท่านั้น นางจึงได้ชี้แจงต่อพระราชาไปว่า “ ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นราชาเทพ อันบุตรนั้นย่อมเกิดในครรภ์เหมือนอยู่ในพกในห่อ หม่อมฉันย่อมให้กำเนิดบุตรเองได้ อันสามีเล่าหากต้องการ เมื่อเดินไปตามทาง ย่อมหาได้ไม่ยาก แต่โอกาสจะมีพี่น้องร่วมท้องพ่อแม่เดียวกัน หม่อมฉันมองไม่เห็นทาง เพราะพ่อแม่ได้เสียชีวิตไปแล้ว ”
อันตชาดก ชาดกว่าด้วยที่สุด ๓ ประเภท
อีกาตัวหนึ่งเห็นสุนัขจิ้งจอกกำลังกินซากโคอย่างเอร็ดอร่อย มันจึงแกล้งพูดยกย่องเจ้าจิ้งจอกเพื่อจะได้กินซากโคนั้นบ้าง “ ท่านพญาจิ้งจอกผู้มีร่างกายล่ำสัน องอาจดั่งพญาราชสีห์ ข้าขอนอบน้อมแด่ท่าน ขอให้ข้าได้กินเนื้อนั่นบ้างเถิด ” ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกเมื่อได้ยินกากล่าวยกย่องตนดังนั้นก็ชื่นใจ แล้วจึงกล่าวตอบด้วยการยกย่องกาเช่นกัน “ กุลบุตรย่อมสรรเสริญกุลบุตรด้วยกัน ท่านกาผู้มีสร้อยคองามเด่น ดั่งเช่นนกยูง เชิญท่านลงมาจากต้นละหุ่ง มากินเนื้อให้สบายใจเถิด ”
สุราปานชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการดื่มสุรา
พวกดาบสดื่มสุราแล้วก็เมามายไม่ได้สติ บางพวกลุกขึ้นฟ้อนรำ บางพวกขับร้อง รุ่งเช้าพอสร่างเมา ฤาษีพากันตื่นเห็นอาการอันวิปปริตของตนนั้น ต่างก็ร้องไห้คร่ำครวญ “ โธ่ พวกเราไม่ได้กระทำอันสมควรแก่บรรพชิตเลย แล้วถ้าอาจารย์รู้จะเสียใจเพียงไร ที่มีศิษย์ทำตัวเยี่ยงนี้ ”
เกสวชาดก ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม
นารทอำมาตย์ได้สอบถามอาการของเกสวดาบส "ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ขนาดพระเจ้าพาราณสีทรงพาแพทย์มาดูแลรักษาท่านถึง ๕ คน ยังไม่สามารถทำให้ท่านหายได้" "เราดื่มยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ราดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น อาหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลที่คุ้นเคยกัน แล้วบริโภคในที่ใดการบริโภคในที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม" เกสวดาบสตอบ
กุหกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดดีได้เงินได้ทอง
เศรษฐีได้นำทองคำไปฝังไว้ใกล้ๆ บรรณศาลาของดาบส และได้ฝากฝังดาบสให้เป็นผู้ดูแลทองคำนั้น ดาบสปลอมหรือชฎิลโฏงได้ถือโอกาสขุดเอาทองคำของเศรษฐีในยามค่ำคืนไปแอบซ่อนไว้ที่อื่นจนหมดสิ้น
กูฏวาณิชชาดก ชาดกว่าด้วยหนามยอกเอาหนามบ่ง
นายบัณฑิตนั้นไม่ใช่คนโง่ เขาสังเกตเห็นพิรุจหลายอย่างจึงคิดพิสูจน์ว่ารุกขเทวดาที่ต้นไม้นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ “ สหายจะให้เราเชื่อเช่นนั้นก็ได้ แต่เราขอพิสูจน์ให้แน่ใจก่อนนะ ” นายบัณฑิตได้เดินไปเก็บฟืนแล้วนำกองไว้ที่โคนต้นไม้ จุดไฟเผาในโพรงไม้นั้น “….เดี๋ยวเถอะจะได้รู้กันว่าเทวดาจริงหรือเทวดาปลอมกันแน่...”
โกสัมพิยชาดก ชาดกว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
“ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วย ทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า