คังเคยชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ชอบโอ้อวด
ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหารได้เกิดเรื่องไม่งามในหมู่สงฆ์ขึ้น เรื่องไม่งามนั้นก็คือ มีภิกษุ 2 รูปผู้เป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี เมื่อบวชในศาสนาแล้วก็ไม่ได้บำเพ็ญอสุภะภาวนา ชอบสรรเสริญรูป เที่ยวพร่ำเพ้อแต่เรื่องรูป
ตัจฉกสูกรชาดก ชาดกว่าด้วยหมูพร้อมใจกันสู้เสือ
พวกท่านจะกลัวเสือตัวนั้นไปทำไม พวกเราไม่มีเขี้ยวหรือ กำลังกายไม่พรั่งพร้อมหรือ พวกเราทั้งหมดพร้อมใจกันแล้ว ก็จะจับมันตัวเดียวเท่านั้นให้อยู่ในอำนาจได้ พวกท่านดูสิพวกเรามีทั้งหมดกี่ตัว แล้วแค่เสือตัวเดียว เราจะเอาชนะมันไม่ได้รึ ตัจฉกสุกรกระทำพวกหมูทั้งหมดให้มีความสามัคคีเป็นใจเดียวกัน แล้ววางแผนกำจัดศัตรูเจ้าเสือร้าย
สสปัณฑิตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน
“ มิจำเป็นที่ผู้อื่นจะต้องล่วงรู้หรอกท่านพญากระต่าย คุณความดีในการเสียสละชีวิตเพื่อให้ทานของท่านในครั้งนี้จะคงอยู่ปรากฎตลอดไป ” ทันทีที่กล่าวจบท้าวสักกะในร่างของพราหมณ์ ก็ทำการเขียนรูปของพญากระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเสียสละครั้งนี้ให้อยู่สืบไป
สีหจัมมชาดก ชาดกว่าด้วยลาห่มหนังสิงโต
พ่อค้าเจ้าเล่ห์เอาหนังสิงโตที่ตัวเองเก็บไว้ขายให้คหบดีอีกเมืองหนึ่งมาคลุมตัวลาของตน แล้วนำลาไปปล่อยไว้ในนาข้าวสาลีของชาวบ้าน ส่วนตนก็เดินทางไปขายของตามปกติ
จัมมสาฏกชาดก ชาดกว่าด้วยนักบวชไหว้แพะ
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภปริพาชกชื่อ จัมมสาฏก จีงทรงตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้ กาลครั้งนั้นมีปริพาชกผู้หนึ่งบำเพ็ญตบะด้วยการเปลือยกาย มีเพียงผิวหนังเท่านั้นเป็นเครื่องนุ่งห่ม
มโนชชาดก-ชาดกว่าด้วยคบคนชั่วไม่ได้ความสุขที่ยั่งยืน
สมัยนั้นมีสหายสองคนผู้เป็นชาวเมืองราชคฤห์ ในสองสหายนั้น คนหนึ่งบวชในสำนักของพระศาสดาอีกคนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมได้พบเห็นกันและกันอยู่เสมอ แม้ไปวิหารก็ยังได้พบเห็นกัน ภิกษุที่ออกบวชในสำนักพระศาสดาต้องปฏิบัติกิจสงฆ์ออกบิณฑบาต ปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิจ ส่วนภิกษุที่บวชในสำนักของพระเทวทัตนั้นไม่ต้องออกไปบิณฑบาต เพราะจะมีคนจัดสำรับไว้ให้ในโรงฉันเรียบร้อย
คิชฌชาดกว่าด้วยอำนาจบุญคุณ
คิชฌชาดก พญาแร้งผู้มีความกตัญญู ผู้ที่สามารถนำพาเหล่าฝูงแร้งให้อยู่รอดปลอดภัยได้ในทุกสถานการณ์ แต่ตัวมันเองกลับต้องถูกจับเพื่อให้พระเจ้าแผ่นดินลงอาญา...พญาแร้งจะมีโอกาสรอดชีวิตหรือไม่?...เกิดอะไรขึ้นกับพญาแร้ง?
สิคาลชาดก ชาดกว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข
สุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์เข้ามากินอาหารซึ่งชาวเมืองนำมาบวงสรวงแก่ยักษ์ไว้ตามทางแพร่งและริมกำแพงเมือง มันกินอาหารและเผลอหลับไป ตื่นมาตอนเช้ามันก็ไม่สามารถออกไปนอกเมืองได้ และมันก็ได้ใช้อุบายหลอกพราหมณ์ผู้โลภมากให้พามันออกไปจากที่หลบซ่อนได้ในที่สุด
การันทิยชาดก ชาดกว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย
“ พระคุณท่านคนเหล่านั้นเขาไม่ได้รักษาศีล ดังที่รับศีลไว้เลยนะขอรับ ” “ แต่นี้ต่อไปขอพระธรรมเสนาบดี จงหยุดให้ศีลแก่ผู้ไม่พอใจรับอีกเลย พวกพรานใจบาป นักเลงหัวขโมยพวกนั้น ไม่อาจขัดขืนถ้อยคำพระเถระเจ้า จึงรับศีลไป แต่จิตใจมิได้ยอมรับตามเลยแม้แต่น้อย ” ศิษย์ทั้งหลายของพระสารีบุตรกล่าวขอดังนี้อยู่หลายครั้ง แต่มิได้ทำให้การศีลหยุดลงแต่ประการใด “ ไม่เป็นไรหรอกรับศีลไปทุกวัน สักวันหนึ่งเขาก็คงประพฤติปฏิบัติศีลได้เอง
อันตชาดก ชาดกว่าด้วยที่สุด ๓ ประเภท
อีกาตัวหนึ่งเห็นสุนัขจิ้งจอกกำลังกินซากโคอย่างเอร็ดอร่อย มันจึงแกล้งพูดยกย่องเจ้าจิ้งจอกเพื่อจะได้กินซากโคนั้นบ้าง “ ท่านพญาจิ้งจอกผู้มีร่างกายล่ำสัน องอาจดั่งพญาราชสีห์ ข้าขอนอบน้อมแด่ท่าน ขอให้ข้าได้กินเนื้อนั่นบ้างเถิด ” ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกเมื่อได้ยินกากล่าวยกย่องตนดังนั้นก็ชื่นใจ แล้วจึงกล่าวตอบด้วยการยกย่องกาเช่นกัน “ กุลบุตรย่อมสรรเสริญกุลบุตรด้วยกัน ท่านกาผู้มีสร้อยคองามเด่น ดั่งเช่นนกยูง เชิญท่านลงมาจากต้นละหุ่ง มากินเนื้อให้สบายใจเถิด ”