ชาวศรีลังกาที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
หญิงสาวชาวศรีลังกา ในประเทศสหรัฐอาหรับ เอมิเรสต์ ผู้รักการเป็นครูสอนพระพุทธศาสนา เธออาสาเป็นผู้สอน แบบไม่มีค่าตอบแทน ที่สถานกงสุลศรีลังกา ในเมืองดูไบ และยังจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมให้กับเด็กๆ ที่บ้านของตนเองอีกด้วย …ลูกชายของเธอ อายุเพียง 9 ขวบ แต่เป็นเด็กที่มีความเมตตาต่อสัตว์ ไม่กินเนื้อสัตว์ ไม่ทำร้ายสัตว์ แม้แต่ยุงตัวเล็กๆ…
บรรยากาศพิธีฉลององค์พระธรรมกาย
หลังจากนั้น ท่านเจ้าอาวาสก็นำเราไปกราบพระพุทธรูป สวดมนต์ในพระอุโบสถ และพาไปบริเวณลานกลางแจ้งเพื่อจัดพิธีต้อนรับคณะกัลยาณมิตรจากวัดพระธรรมกายต่อไป พิธีเริ่มด้วยเจ้าอาวาสกล่าวต้อนรับ และขอบพระคุณ พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่ได้มอบองค์พระธรรมกายในครั้งนี้
Large Buddha to be unveiled Saturday in Franklin
Middle Way ที่ดูไบ
สำหรับที่นี่แล้ว... การแสวงหาความสุขที่แท้จริงบนพื้นฐานความแตกต่างทางความเชื่อนั้น ไม่เป็นอุปสรรคปัญหานำไปสู่ความแตกแยกครับ เพราะผู้มีบุญใช้แนวคิดสมานฉันท์แบบ “ความเชื่อดั้งเดิมอัญเชิญไว้บนหิ้งชั่วคราว แต่เวลานี้ขอทดลองศึกษาความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง” ด้วยเหตุนี้ผู้มีบุญจึงได้มาเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 23 ท่าน จาก 7 สัญชาติ ได้แก่ ชาวศรีลังกา, มาเลเซีย, บังคลาเทศ, อังกฤษ, เยอรมัน, แคนาดาและไทย แล้วก็ต้องปลื้มใจแบบทันควันเพราะเกิดผลเกินควรเกินคาดครับ
รวมใจชาวพุทธ ณ “รัฐดูไบ” U.A.E.
ปฐมบทแห่งตำนานการสถาปนาศูนย์ปฏิบัติธรรมดูไบเกิดขึ้นจากบุญบันดาลทำให้กัลฯธรรมปรียา สามีคู่บุญของกัลฯรัตนา เดอซิลวา ซึ่งเป็นชาวศรีลังกา หมุนจูนเจอช่อง DMC ,จากนั้นก็ชวนกันดู ยิ่งดูก็ยิ่งใจใสจนมิอาจทัดทานพลังบุญในตัวที่กระตุ้นให้ส่งอีเมลล์มาถึงยัง เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศของวัดพระธรรมกาย ประเทศไทย นำไปสู่การนัดพบเพื่อวางแผนก่อการดีสร้างสันติภาพโลกใน “รัฐดูไบ” เป็นผลให้กัลฯรัตนาเกิดกุศลศรัทธาได้สละบ้านพักของตนให้ผู้คนมากมายมานั่ง สมาธิ โดยมีสื่อสีขาวช่อง DMC เป็นสื่อนำสร้างบุญและรวบรวมหมู่คณะ ทั้งยังเป็นช่องทางให้ทุกคนได้พบปะกับคุณครูไม่ใหญ่เพื่อคลายความคิดถึงอีก ด้วยครับ
World-PEC ครั้งแรกของศรีลังกา
ชาวศรีลังกาพูดกันว่า ยังไม่เคยเห็นการสอบแบบครอบครัวที่แปลกใหม่ขนาดนี้มาก่อน แต่ก็เป็นสิ่งที่พวกเขารู้สึกคุ้นเคย เพราะครอบครัวศรีลังกาอบอุ่นกันอยู่แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า เอ...เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เพราะคนที่นี่เขาอยู่ด้วยกันทั้งครอบครัว ในแต่ละวัน ผู้หญิงจะอยู่บ้านทำกับข้าว ผู้ชายออกไปทำงาน ส่วนลูกๆไปโรงเรียน ตกเย็นก็มาพร้อมหน้ากัน พอถึงวันอาทิตย์จะส่งลูกๆไปโรงเรียนพุทธศาสนาแล้วมารับกลับ คนที่นี่เมื่อมาวัดก็ไม่ต้องห่วง ใส่ชุดขาวกันเกือบหมด ปฏิบัติจนเป็นเรื่องปกติและกลายเป็นวัฒนธรรมชาวพุทธที่แสนงดงาม
วันพระที่ศรีลังกา
อาจจะมีคนคิดว่า การเข้าวัดฟังธรรมเป็นเรื่องของสว. (สูงวัย) แต่ชาวศรีลังกาไม่คิดเช่นนั้น เพราะลูกเด็กเล็กแดงในประเทศนี้ จะตามพ่อ-แม่ไปวัดตั้งแต่ยังเป็นทารก รวมทั้งยังถืออุโบสถศีลตามพ่อ-แม่ด้วย โดยเด็กๆจะถือศีลแปดจนถึงเวลา 6โมงเย็นของทุกวันพระ แม้เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ก็จะไปวัดกับเพื่อนๆ
นั่งสมาธิง่ายกว่าการทำอาหารเยอะเลย
"การทำอาหารนั้นเป็นสิ่งที่วุ่นวาย ร้อน ทำให้หงุดหงิดง่าย และน่าปวดหัวอย่างที่สุด" นี่คือสิ่งที่ จีฮาน อะบีวีรา ชาวศรีลังกา เข้ามาทำงานเป็นพ่อครัว อยู่ที่ประเทศบรูไน พูด เพราะเขาอารมณ์ร้อน ถึงกับเอาถังน้ำที่มีน้ำล้างพื้นคว่ำใส่หัวของลูกน้อง เมื่อตอนที่เขาสั่งแล้วไม่ยอมทำเสียที แต่หลังจากที่เขาฝึกสมาธิ ก็ทำให้เขาใจเย็นลง พร้อมกับเอ่ยว่า "ความเย็นภายใน ก็ทำให้ผมอารมณ์เย็นขึ้นด้วย" แล้วก็ทำให้เขาทำอาหารได้อร่อยขึ้น...
พิธีเปิดโครงการสยาม-ลังกา ธรรมยาตรา ฉลองเทศกาลวิสาขบูชาแห่งชาติ ศรีลังกา
เลขาธิการคณะกรรมการพุทธศาสนาแห่งชาติศรีลังกา ได้นำคณะพระภิกษุสามเณรในเขตมาตะเล และคณะสงฆ์จากวัดพระธรรมกาย ทำพิธีเปิดโครงการสยาม-ลังกา ธรรมยาตรา ฉลองเทศกาลวิสาขบูชาแห่งชาติ ศรีลังกา บูชาธรรม 80 ปีหลวงพ่อธัมมชโย
ผู้แทนมูลนิธิธรรมกาย ร่วมทอดกฐินสมทบ ณ วัดกัลละปิติยะ
ผู้แทนมูลนิธิธรรมกาย ในนามของหลวงพ่อธัมมชโย ได้ไปร่วมพิธีทอดกฐินสมทบ ณ วัดกัลละปิติยะ ประเทศศรีลังกา