มงคลที่ 38 - จิตเกษม - สำคัญที่ดวงจิต
เมื่อแน่ใจแล้วว่าอุบาสิกานี้รู้วาระจิตของตนจริงๆ ท่านจึงกลับมาคิดใคร่ครวญว่า "กรรมนี้หนักหนอ ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึงอารมณ์อันงามบ้างไม่งามบ้าง ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้ว อุบาสิกานี้จะรู้ทันเราเหมือนจับโจรได้พร้อมด้วยของกลาง อย่ากระนั้นเลย เราควรหนีไปเสียจากที่นี้จะดีกว่า" แล้วจึงลาอุบาสิกาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงแม้ว่าอุบาสิกาจะทัดทานให้อยู่ต่อก็ตาม เมื่อไปถึงพระพุทธองค์ได้ตรัสถามเธอว่า "ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้นไม่ได้หรือ"
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ความโศกสิ้นสุด เมื่อจิตหลุดพ้น
เมื่อลูกชายเติบโตวิ่งเล่นได้ พลันเกิดเหตุพลิกผันวิถีชีวิตของนางโดยสิ้นเชิง ลูกชายของนางเกิดล้มป่วยลง และตายจากไปอย่างปัจจุบันทันด่วน ทำให้นางเกิดความโศกเศร้าเสียใจ อาลัยอาวรณ์ต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก จนไม่เป็นอันกินอันนอน นางไม่สามารถควบคุมสติของตนได้ กลายเป็นคนเสียสติในทันที
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ผู้มีจิตมั่นคง
ครั้นเวลาเช้า พระภิกษุสงฆ์มีพระเถระทั้งสองเป็นประมุข ได้ออกบิณฑบาตไปตามถนน แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่บ้านของนางนันทมารดาซึ่งได้จัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี เมื่ออังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว นางก็เข้าไปนั่งสนทนา เล่าเรื่องที่ได้สนทนากับท้าวเวสสวัณเมื่อรุ่งอรุณให้พระเถระทั้งสองฟัง
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - พากเพียรเพื่อพระนิพพาน
บุคคลผู้มีปัญญา หากปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ ต้องแสวงหาหนทางพระนิพพาน อันเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ อีกทั้งต้องมีความพากเพียรพยายามไม่ลดละ เพื่อทำความปรารถนานั้นให้สำเร็จ จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งยังสามารถเป็นกัลยาณมิตรชี้ทาง สว่างและเป็นแบบอย่างให้กับชาวโลกได้อีกด้วย ดังเช่น พระมหามิตตเถระ ผู้มีความเคารพในทานที่ญาติโยมตั้งใจถวายด้วยศรัทธา
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ทายาทพระศาสนา
พระองค์ได้ตรัสถามพระมหาเถระว่า "ตอนนี้โยมได้เป็นญาติของพระศาสนาแล้วใช่ไหม" พระมหาเถระทูลตอบว่า "ถวายพระพร มหาบพิตรยังเป็นคนนอกอยู่" พระเจ้าอโศกเกิดความสงสัย จึงตรัสถามว่า "โยมได้บริจาคทรัพย์ถึง ๙๖โกฏิเพื่อสร้างมหาวิหารถึง ๘๔,๐๐๐หลัง ยังไม่ถือว่าเป็นญาติกับพระศาสนาอีกหรือ"
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - เสียดายโอกาส
“พายเถิดนะพ่อพาย ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า” หมายถึง จะทำอะไรก็ให้รีบทำ อย่าชักช้าลังเลใจ ต้องทุ่มเททำในสิ่งที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ หากหมดเวลาหมดโอกาสแล้ว ก็เหมือนตลาดจะวาย คือ หมดเวลาค้าขาย คนซื้อก็หาย สินค้าก็หมด สินค้าคุณภาพดีๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการก็มีคนมาซื้อไปหมดแล้ว สายบัวจะเน่า คือ เอามาใช้ประโยชน์ไม่ได้จำเป็นต้องทิ้งไป เพราะเหลือแต่ของที่มีคุณภาพต่ำ เป็นสิ่งที่คนอื่นไม่อยากได้แล้ว
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - มหาทาน คือ เสบียงสู่ความหลุดพ้น
วันหนึ่งพระเจ้าเภรุวมหาราชทอดพระเนตรโรงทานของพระองค์ ทรงดำริว่า ปฏิคาหก ผู้รับทานของเรานี้ ล้วนเป็นผู้ทุศีล บริโภคทานแล้วไม่ทำให้จิตใจของทายกยินดีเลย ทำอย่างไรหนอเราจึงจะได้เนื้อนาบุญ เราปรารถนาจะถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้า
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เลิกตระหนี่ตลอดไป (๒)
แม้เป็นเศรษฐีแล้ว ยังต้องให้ทาน จะได้รวยข้ามชาติ ไม่ ใช่เกิดมาเสวยสมบัติอย่างเดียว ส่วนท่านที่ยังลำบากยากจน ต้องเริ่มให้ทานได้แล้ว จะรอให้รวยแล้วจึงทำทานไม่ได้หรอก ต้องทำทานไปเรื่อยๆ ถึงจะรวย งานทางโลกเราก็ทุ่มเททำกันไป งานบุญงานกุศลก็ทำกันไป ให้เศรษฐกิจกับจิตใจไปด้วยกัน
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - การให้ที่มีผลมาก (๒)
"ดูก่อนคฤหบดี เวลามพราหมณ์ ก็คือเราตถาคตนี่แหละ เราแม้เมื่อให้ทานมากมายเห็นปานนั้น ก็ไม่ได้มีบุคคลผู้สมควรจะมารับทักษิณาทานของเรา แม้เพียงคนเดียว ถึงกระนั้นก็ส่งผลให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลายาวนาน ส่วนท่านได้ให้ทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นับว่าได้โอกาสอันเลิศแล้ว เพราะฉะนั้น จงยินดีในการให้ทานต่อไปเถิด"
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ถวายทานนำมาซึ่งความสุข
อานุภาพแห่งบุญนี้ ไม่มีประมาณจริงหนอ ตัวเราได้สำเร็จทุกอย่างดังใจปรารถนาเพราะอานุภาพแห่งบุญที่เราได้ ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ด้วยจิตที่เต็มเปี่ยม ด้วยความเลื่อมใส นิมนต์ภิกษุสงฆ์มาแล้ว ทำมณฑปด้วยอ้อย นิมนต์พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติซื่อตรง มีจิตตั้งมั่นเป็นสงฆ์ผู้อุดม ให้ฉันอ้อย ด้วยอานิสงส์นี้ ทำให้เราครอบงำสัตว์ทั้งปวงในภพที่เราถือกำเนิด