มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ความโลภทำให้คนมืดบอด
ทันทีที่เข้าไปในเมืองนั้น เขาเห็นนายประตูทูนจักรกรด หมุนบดขยี้อยู่บนศีรษะ แต่เขากลับมองเห็นเหมือนมงกุฎดอกบัว และมองเห็นเครื่องจองจำ ๕ ชิ้นที่หน้าอก เหมือนเป็นสังวาลย์เครื่องประดับของเทวดา ส่วนโลหิตที่ไหลจากศีรษะ ก็มองเห็นเป็นจันทน์แดงที่ชะโลมทา และเสียงครวญครางของสัตว์นรก ก็ฟังเป็นเสียงเพลงขับที่ไพเราะ
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - สุราเป็นเหตุ
วันหนึ่ง ประชาชนเข้ามาขอร้องนายอำเภอว่า ข้าแต่นาย ในงานมหรสพประจำปี ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ ทุกๆ ปีตั้งแต่โบราณกาล ชาวบ้านต่างพากันดื่มสุราเลี้ยงฉลองกันใหญ่โตเป็นที่สนุกสนาน เวลาอื่นท่านห้ามขายสุรา พวกเราก็ไม่ว่า แต่พรุ่งนี้เป็นงานประจำปี ซึ่งทำกันเป็นประเพณีมานาน เพราะฉะนั้น ขอท่านนายอำเภอ จงอนุญาตให้ซื้อขาย และดื่มสุรากันสักวันหนึ่งเถิด
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - พูดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง
คนที่มักโกหกหลอกลวงอยู่ ทั้ง ชีวิตจะเต็มไปด้วยความหวาดระแวง เพราะต้องเสกสรรปั้นแต่งคำพูดตลอดเวลา ต่อหน้าอย่างหนึ่ง หลับหลังก็วางตัวอีกอย่างหนึ่ง ชีวิตในบั้นปลายย่อมไม่พ้นความทุกข์ทรมานจากการกระทำนั้น แม้ละโลกนี้แล้ว ยังต้องทุกข์ทรมานอยู่ในอบายภูมิ ผู้ที่ทำผิดเช่นนี้ หากได้ครูบาอาจารย์ที่เปี่ยมด้วยมหากรุณาช่วยแก้ไข ก็จะสามารถเอาตัวรอดได้
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ถ้อยคำของมิตรแท้
ผู้มีหัวใจยอดกัลยาณมิตร มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เมื่อเห็นข้อบกพร่องของผู้ใดแล้ว มีกำลังใจพอที่จะว่ากล่าวตักเตือน และพูดออกไปด้วยความหวังดี นับว่าเป็นผู้ที่หาได้ยากในโลก คนที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องมีจิตใจสูงส่ง ต้องคำนึงถึงประโยชน์ใหญ่เป็นหลัก แม้บางครั้งจะต้องพบกับความไม่พอใจหรือไม่เข้าใจของผู้ที่เราว่ากล่าวตัก เตือน แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ ใจของผู้ชี้บอกขุมทรัพย์จะต้องยิ่งใหญ่และผ่องใสเสมอ
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล - คนพาลไม่ต้องการเหตุผล
หากเรารู้ว่า ใครเป็นคนพาล เราควรรีบหลีกหนีให้ห่างไกล เพราะยิ่งอยู่ร่วมกันนาน จะยิ่งติดเชื้อพาล ซึ่งมีแต่จะนำความวิบัติความเสื่อมเสียมาให้ เหมือนดังเรื่องของแม่แพะ ที่พูดจาอ่อนหวาน แต่ในที่สุดก็ต้องถูกเสือจับกินเป็นอาหาร เรื่องมีอยู่ว่า
วิธีแก้กิเลสในตัว
กุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ให้ผลเป็นความสุข อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล ให้ผลเป็นความทุกข์ อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากตา ให้ผลเป็นกลางๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
วิรัติวัดศีล
เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงทำ กรรมด้วยกาย วาจา ใจ
กตัตตากรรม
ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ ใครทำกรรมใดไว้ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ดีหรือชั่วก็ตาม ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ ตนจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
มหัศจรรย์วันออกพรรษา
พระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งปราศจากมลทิน ย่อมแจ่มกระจ่างในท้องฟ้า ซึ่งปราศจากเมฆฝน ฉันใด ข้าแต่พระองค์ ผู้มีพระรัศมีซ่านออกแต่พระสรีรกาย ผู้เป็นมหามุนี พระองค์ย่อมรุ่งเรืองล่วงสรรพสัตวโลก ด้วยพระยศ ฉันนั้น ดังนี้
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สู่เส้นทางนิพพาน
พระบรมศาสดาประทานพระโอวาทว่า "อานนท์ เธอเป็นผู้ที่ได้ทำบุญไว้ดีแล้ว ในบรรดาพุทธอุปัฏฐากทั้งหลายในภัทรกัปนี้ เธอเป็นยอดของอุปัฏฐากเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เธอจงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะในภพชาตินี้" แล้วท่านพระอานนท์ ท่านได้บรรลุธรรมโดยขณะที่กำลังเองหลังลงนอน เรื่องราวเป็นอย่างไรนั้น