เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๖)
ธรรมดาพวกมนุษย์ ย่อมไปสู่สำนักของพวกมนุษย์ พวกโคก็ไปสู่ฝูงโค บรรพชิตก็ไปสู่สำนักของบรรพชิต บัณฑิตก็เข้าไปหาพวกบัณฑิต
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ก่อนลมหายเฮือกสุดท้าย)
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้น นำสุขมาให้
กิสาโคตมีเถรี
มฤตยูย่อมพาเอานรชน ผู้มัวเมาในลูก และสัตว์เลี้ยง ผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่ พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับใหลไปฉะนั้น
พระมหากัจจายนเถระ
หากว่าบุรุษพึงทำบุญไซร์ ก็ควรทําบุญนั้นให้บ่อยๆ ควรทําความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญเป็นเหตุนําความสุขมาให้
พุทธชิโนรส (๕)
ถ้าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้เพียงครู่เดียว เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นที่รู้รสแกงฉะนั้น
สามเณรนิโครธ (๒)
หากว่าบุคคลมีธรรมประดับแล้ว เป็นผู้สงบแล้ว ฝึกตนแล้ว เป็นคนเที่ยงตรง เป็นพรหมจารี เลิกอาชญากรรมในสัตว์ทั้งปวง พึงประพฤติธรรมสมํ่าเสมอ ผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นสมณะ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นภิกษุ
สุมนสามเณร
บุคคลใดมีสัจจะ มีธรรมะ มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม มีความข่มใจ บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นนักปราชญ์ผู้บริสุทธิ์ ชื่อว่าเป็นเถระ ผู้มั่นคงในธรรม
พระมหากัปปินเถระ
บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ
อัครสาวก ซ้าย-ขวา
ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นอารมณ์ ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ ชนเหล่าใด รู้สิ่งที่เป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นอารมณ์ ย่อมประสบแต่สิ่งที่เป็นสาระแก่นสาร
เสียงสาธุการของเทวดา
มนต์ทั้งหลาย มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา