เราคือ..ผู้ออกแบบชีวิต
การที่เรามองโลกด้วยมุมมองแตกต่างกัน เป็นเพราะเราเกิดมาแตกต่างกัน ได้สัมผัสโลกในแง่มุมที่ต่างกัน และมีประสบการณ์ในโลกนี้ต่างกัน ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาระบุว่า “กรรม”เป็นตัวกำหนดความแตกต่างเหล่านี้
อยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม
ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุสี่ที่ไม่บริสุทธิ์จึงเสื่อมสลายตลอดเวลา ทำให้ต้องหา ธาตุสี่จากภายนอกมาเติมเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด ดังที่เราต้องประกอบกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติมธาตุสี่ แต่กายนั้นก็ทำกรรมตามที่ใจของเราเป็นตัวสั่งการ ส่วนของใจทำหน้าที่รู้และคิด ส่วนของกายพูดและทำ
ทุกข์อย่างยิ่ง สุขอย่างยิ่ง
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์อย่างยิ่ง, บัณฑิตทราบเนื้อความนั่น ตามความจริงแล้ว
กำหนดการวันลอยกระทง ณ วัดพระธรรมกาย (วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
ขอเชิญร่วมพิธีลอยกระทงธรรม และฉลองชัยสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 (วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
เราจะได้อะไรจากการสวดมนต์อย่างถูกหลักวิชชา
การสวดมนต์สรรเสริญคุณของพระรัตนตรัยอย่างถูกหลักวิชชานั้น เราต้องเปล่งเสียงสวดมนต์ออกมาจากแหล่งแห่งความบริสุทธิ์ภายใน โดยการหลับตา...
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(7)
ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ก็ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ก็ทำได้ยาก พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษ พวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้ยากแสนยาก เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ และพวกอสัตบุรุษจึงต่างกัน พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์
ความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย
คำว่า ธรรมกาย เป็นศัพท์สมาส ที่อาจแปลเป็นคำคุณศัพท์ว่า ผู้มีธรรมเป็นกาย หรืออาจแปลเป็นคำนามก็ได้ว่า กายแห่งธรรม กายคือธรรมหรือ กายที่ประกอบด้วยธรรม
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(2)
เมื่อใดพระเจ้าเนมิราชผู้เป็นบัณฑิต เป็นพระราชา ผู้ปราบอริราชศัตรู มีพระประสงค์ด้วยกุศล ทรงบริจาคทาน แก่ชาววิเทหะทั้งปวง เมื่อนั้นบุคคลผู้ฉลาดก็ย่อมเกิดขึ้นในโลก ความเกิดขึ้นของท่านเหล่านั้น น่าอัศจรรย์หนอ
ภพสาม คุกใหญ่ของสรรพสัตว์
ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ ผู้ทำบาปอกุศล ย่อมเข้าถึงนรก ผู้สั่งสมความดีเป็นเหตุสุคติ ย่อมไปสู่สวรรค์ ผู้ไม่มีกิเลสอาสวะ ย่อมปรินิพพาน