พระมหากษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก ตอน ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์สถาปนาขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี รัชกาลที่ ๑ ทรงย้ายราชธานีจากฝั่งกรุงธนบุรีมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานนามราชธานีแห่งใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ฯ”
บูรพกษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าพระไตรปิฎกภาษาบาลีเข้ามาสู่ประเทศไทยใน ๒ ช่วง คือประมาณปี พ.ศ. ๑๖๐๐ เมื่อพระพุทธศาสนาเถรวาทเผยแผ่จากประเทศพม่าเข้าสู่ภาคเหนือของไทย และประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่ จากประเทศศรีลังกามาทางนครศรีธรรมราช
หีดธัมม์ งานศิลป์ ถิ่นเหนือ
หีดธัมม์ หรือ หีดธรรม เป็นคำที่ชาวเหนือใช้เรียกหีบเก็บคัมภีร์ใบลาน มีใช้สืบต่อกันมาแต่โบราณกาลในดินแดนล้านนา ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์ใบลานที่จารด้วยอักษรธรรมล้านนาซึ่งเป็นอักษรที่ใช้อย่างแพร่หลายบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย หีบพระธรรมที่ใช้ในภูมิภาคนี้นับว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากหีบเก็บคัมภีร์ใบลานของภาคอื่น เพราะมีลักษณะเป็น “ทรงลุ้ง” คือเป็นทรงสี่เหลี่ยม ด้านล่างของฐานสอบเข้า ส่วนปากหีบผายออก มีฝาครอบปิดด้านบนซึ่งมีหลายลักษณะทั้งฝาตัด ฝาคุ้ม และฝาเรือนยอด
กากะเยีย ขั้นกะเยีย...ผสานศิลป์ถิ่นอีสาน
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19-22 ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงแถบประเทศลาว ตลอดจนภาคอีสานของไทยเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านช้างที่มีความรุ่งเรืองด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้างเป็นยุคที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับอาณาจักรล้านนา จึงได้น้อมรับเอาอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมการจารคัมภีร์ใบลานด้วยอักษรธรรมตามแบบฉบับล้านนามาพัฒนาจนเป็นอักษรธรรมอีสานหรืออักษรธรรมลาวเพื่อใช้จารจารึกคัมภีร์ในอาณาจักรล้านช้าง
แลใบลาน ก่อนกาลล่วงเลย
สรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา บางสิ่งที่เคยมีคุณค่า ณ ช่วงเวลาหนึ่ง แต่ทว่าเมื่อเวลาผ่านไปมีสิ่งใหม่เข้ามาแทนที่ ของเดิมที่เคยมีคุณค่าก็อาจกลายเป็นเพียงความทรงจำในอดีต ทั้งที่ความจริงแล้วคุณค่าและความสำคัญของสิ่งนั้นไม่ได้ลดลงเลย เพียงแต่ถูกบดบังจนทำให้คุณค่าภายในที่แท้จริงถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดายคัมภีร์ใบลานแม้ศักดิ์สิทธิ์สูงค่าก็ไม่อาจพ้นจากสภาวธรรมนี้ไปได้
รักษ์ศาสน์ วาดศิลป์ แผ่นดินสยาม
บรรพชนชาวสยามน้อมรับเอาพระพุทธศาสนามานับถือและรักษาไว้ ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ่าน มากี่ยุคสมัย ผ่านมากี่แผ่นดิน อาณาประชาราษฎร์ล้วนอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ พระบรมโพธิสมภารแห่งพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็น “ธรรมราชา” องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ปกครองแผ่นดินโดยธรรมตามหลักพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย...ก้าวไกลสู่เวทีโลก
พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ สืบทอดผ่านการสวดทรงจำโดยเหล่าพุทธสาวก และจารจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกลงในคัมภีร์ใบลาน เมื่อครั้งกระทำสังคายนา ครั้งที่ 5 ราว ๆ ปี พ.ศ. 400 เศษ ณ อาโลกเลณสถาน ประเทศศรีลังกา
พิธีถวายหนังสือพระไตรปิฎก 3 ภาษาและถวายทุนการศึกษาพระนานาชาติ
ผู้แทนคณะกัลยาณมิตรทั่วโลกร่วมถวายหนังสือพระไตริปิฎก 3 ภาษา และถวายทุนการศึกษาพระภิกษุนานาชาติ ณ ศูนย์ฝึกอบรมพุทธบุตรนานาชาติจังหวัดปราจีนบุรี
คัมภีร์ใบลาน : ย้อนวันคืน...ฟื้นรอยจาร
เส้นอักษรบนแผ่นลานเกิดจากเหล็กปลายแหลมที่ช่างจารใช้เขียนเป็นร่องลงใน เนื้อลาน แล้วใช้ลูกประคบแตะเขม่าจากควันไฟที่ติดก้นหม้อดินเผาหรือถ่านหุงข้าว บดละเอียดผสมน้ำมันยางลูบบนหน้าลานจนทั่ว จากนั้นนำทรายร้อนมา “ลบใบลาน” โดยนำทรายละเอียดที่ตากแดดหรือคั่วจนร้อนโรยลงบนหน้าลานนั้น แล้วขัดด้วย ลูกประคบไปทางเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง
คัมภีร์ใบลาน ขุมทรัพย์ทางปัญญาของชาวพุทธ
ทีมงานโครงการพระไตรปิฎกวัดพระธรรมกาย จึงนำคัมภีร์ใบลานเหล่านี้ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในอดีต มาเชื่อมต่อกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกยุคปัจจุบัน เพื่อสานต่อไปยังอนาคต ด้วยการใช้กล้องคุณภาพสูงบันทึกหน้าคัมภีร์ใบลานเป็นไฟล์ภาพดิจิทัล เพื่อทำสำเนาสำรองเก็บรักษาเอกสารต้นฉบับ ทำให้ผู้สนใจสามารถศึกษาจากไฟล์ภาพโดยไม่จำเป็นต้องเข้าถึงคัมภีร์ต้นฉบับโดยตรง