ปราสาทคือปัญญา
ความประมาทนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยความไม่ประมาท คือค่อยๆ ถ่ายถอนความประมาทออกทีละน้อย แล้วเพิ่มพูนความไม่ประมาทเข้าไปแทนที่ เหมือนถ่ายเทน้ำเก่าอันขุ่นออกแล้วใส่น้ำใหม่ที่ใสสะอาดเข้าไป พยายามรักษาความไม่ประมาทที่ทำได้แล้วมิให้เสื่อมลงไปอีก กีดกันความประมาทที่ห่างไปแล้วมิให้เข้ามาอีก ดวงใจที่ห่างจากความประมาท อยู่ด้วยความไม่ประมาท มีสติระวังรอบคอบ ย่อมก่อให้เกิดปัญญา ปัญญานั้นว่องไว คล่องแคล่ว ปัญญานั้นสูงส่งดุจปราสาท กล่าวคือ ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ สามารถเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนจากภพอยู่ (จุติ) และเกิดอยู่ (ปฏิสนธิ) เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาท มองลงมาเห็นคนยืนอยู่เบื้องล่างรอบๆ ปราสาท อนึ่ง เมื่อคนทั้งหลายเศร้าโศกอยู่ เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักบ้าง เพราะพบกับความเสื่อมจากญาติจากโภคะบ้าง เพราะประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง บัณฑิตย่อมไม่เศร้าโศก เพราะได้มองเห็นความจริงเสียแล้ว มองเห็นความสุขและความทุกข์อย่างโลกๆ โดยความเป็นของเสมอกันคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน มีแต่กระแสอันไหลเชี่ยวแห่งกลุ่มธรรมอันหนึ่ง นักปราชญ์เช่นนั้นย่อมมองเห็นคนพาลเป็นผู้น่าสังเวช สงสารเหมือนผู้ยืนอยู่บนภูเขามองเห็นคนยืนอยู่ที่เชิงเขา
คนที่ไม่ควรคบ
ลูกเอ๋ย ความฉิบหายย่อมขยายวงออกไป เมื่อคบหากับคนพาลมากไป เจ้าอย่าได้สังคมกับคนพาลเลย เพราะการอยู่ร่วมกับคนพาลมีแต่ทุกข์ร่ำไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรูนั้นแหละ
พระธรรม
ถึงจะอยู่ใกล้บัณฑิต เป็นเวลานานชั่วชีวิต คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่ เหมือนจวักไม่รู้รสแกง
กูฏวาณิชชาดก ชาดกว่าด้วยหนามยอกเอาหนามบ่ง
นายบัณฑิตนั้นไม่ใช่คนโง่ เขาสังเกตเห็นพิรุจหลายอย่างจึงคิดพิสูจน์ว่ารุกขเทวดาที่ต้นไม้นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ “ สหายจะให้เราเชื่อเช่นนั้นก็ได้ แต่เราขอพิสูจน์ให้แน่ใจก่อนนะ ” นายบัณฑิตได้เดินไปเก็บฟืนแล้วนำกองไว้ที่โคนต้นไม้ จุดไฟเผาในโพรงไม้นั้น “….เดี๋ยวเถอะจะได้รู้กันว่าเทวดาจริงหรือเทวดาปลอมกันแน่...”
เมื่อบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อใดบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท เมื่อนั้นเขานับว่าได้ขึ้นสู่ "ปราสาทคือปัญญา" ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชน ผู้โง่เขลา
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 77
กระทั่งวันหนึ่ง ก็มีของขวัญล้ำค่าบรรจุห่ออย่างดี ถูกส่งจากเรือนของอาจารย์เสนกะเพื่อนำมามอบให้แด่นางอมรา นางอมราเทวีได้รับบรรณาการที่มีผู้นำมาให้แล้ว ก็รู้ความประสงค์ของอาจารย์เสนกะ นางจึงดำริในใจว่า “ช่างน่าขันเสียจริง จู่ๆเสือก็เผ่นเข้ามาหาจั่นเอง ทีนี้ล่ะ เราจะทำให้อาจารย์ทั้งสี่ได้รู้จักเข็ดหลาบเสียบ้าง”
จดหมายจากบัณฑิต DOU
มหาวิทยาลัยที่สอนทางด้านพระพุทธศาสนาทางไกลแห่งแรกของโลก
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ทำลายข่าย คือ ทิฏฐิมานะ (2)
เมื่อพระอานนทเถระได้รับอนุมัติจากสงฆ์แล้ว จึงออกเดินทางพร้อมพระภิกษุอีก 500รูป มุ่งหน้าไปยังวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี ซึ่งเป็นที่พำนักของพระฉันนะ ครั้นพระฉันนะรู้ว่า พระอานนทเถระมาเยี่ยม จึงรีบเข้าไปหา ไหว้พระเถระด้วยความนอบน้อม เพราะรู้ว่าฐานะตำแหน่งทางโลกนั้น พระอานนท์เป็นพระอนุชา เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ส่วนตนเป็นเพียงข้าทาสคนรับใช้ จึงมีความยำเกรงพระอานนท์เป็นพิเศษ
กำหนดการพิธีประสาทปริญญาบัตร DOU ประจำปี 2555
กำหนดการพิธีประสาทปริญญาวันอาทิตย์ ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ณ ห้องแก้วสารพัดนึก สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย จ. ปทุมธานี
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๓ ( ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ )
เสนกะทูลว่า " ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มโหสถยังเด็ก แม้ทุกวันนี้ปากของเธอยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม มโหสถจะรู้อะไร ฝูงนกบินไปบินมาตามต้นไม้ในป่าที่มีผลดกฉันใด ชนเป็นอันมากย่อมคบหาสมาคมผู้มั่งคั่งมีโภคทรัพย์มาก เพราะความต้องการด้วยทรัพย์ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น คนมีสิริสมบัติเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ "