กำหนดการวันลอยกระทง ณ วัดพระธรรมกาย (วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
ขอเชิญร่วมพิธีลอยกระทงธรรม และฉลองชัยสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 (วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ประมาทแล้วต้องตั้งต้นใหม่ (๑)
การที่ ข้าพเจ้ามีความประมาท ประพฤติอกุศลธรรม ประกอบทุจริตกรรม ก็เพราะข้าพเจ้ามีความต้องการจะได้ทรัพย์มาบำรุงเลี้ยงบิดามารดา เลี้ยงดูบุตรภรรยา ต้องสงเคราะห์ ให้แก่ญาติสายโลหิต ต้องทำบุญส่งไปให้แก่บุรพเปตชน ต้องบวงสรวงแก่เทวดา ต้องทำกิจให้แก่องค์พระราชาธิบดี ฉะนั้น ขอท่านนายนิรยบาล ได้โปรดเมตตากรุณาต่อข้าพเจ้าด้วยเถิด
พระพุทธลีลา
พระ ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ ไม่ก้าวพระบาทยาวในที่ไกลมาก ไม่ก้าวพระบาทถี่ในที่ใกล้มาก เสด็จดำเนินไม่เสียดสีพระชานุ และข้อพระบาททั้งสอง เสด็จดำเนินไม่เร็วนักไม่ช้านัก ขณะเสด็จดำเนินก็มีสมาธิ พระหฤทัยตั้งมั่น ไม่ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน หรือลงเบื้องต่ำ ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก มีพระอาการเยื้องกรายคล้ายพญาช้าง ทรงทำโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง ทรงงดงามดุจดวงจันทราในยามรัตติกาล
ชัยชนะครั้งที่ 6 (ตอนที่ 5 ชนะสัจจกนิครนถ์)
บุคคลเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นแบบไม่เป็นที่สองรองใคร ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีใครเสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเลิศกว่าชนทั้งหลาย บุคคลเอกผู้นั้น คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (3)
รสเหล่าใดมีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะเป็นรสที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสเหล่านั้น เพราะว่าสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะย่อมข้ามพ้นฝั่งแห่งชาติและมรณะได้
สละชีวิตเป็นทาน(ปรมัตถบารมี)
หากว่าปราชญ์พึงเห็นแก่สุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย เมื่อผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์แล้ว ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_6
ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญสัจจบารมี ให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งที่รู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น แม้อสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่านก็ตาม ธรรมดาว่า ดาวประกายพรึกในทุกฤดูกาล ไม่เว้นทางโคจรของตน ไม่โคจรไปในทางอื่น โคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่าน ไม่ละสัจจะ ไม่กระทำการพูดเท็จ ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ฉันนั้น
อานิสงส์ถวายธูปหอม
เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายธูปไว้ในพระคันธกุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ เราย่อมเป็นที่รักของชนแม้ทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการถวายธูป
ใจหยุด สุดยอดปาฏิหาริย์
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ คืออิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ภิกษุนั้นแล เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งปวง
โทษของการพูดโกหก
เพราะฉะนั้นแล บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญฉันทาคติ คือความลำเอียงเพราะรัก บุคคลไม่พึงเป็นผู้ที่มีจิตถูกฉันทาคติประทุษร้าย พึงกล่าวแต่คำที่อิงคำสัตย์เท่านั้น