ลงมติแล้วเลิกเก็บ 30 บาท
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ธรรมกายต้นแหล่งแห่งความบริสุทธิ์
นักปราชญ์เหล่าใด เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมากมาย มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวลได้ มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ความสุขในพระรัตนตรัย
หลังจากที่ท่านปลงผมเสร็จ กำลังจะผลัดผ้าสาฎกออก เพื่อเปลี่ยนมานุ่งห่มชุดของนักบวช ในจังหวะนั้นท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในทันที เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องปฏิสัมภิทาญาณ ต่อมาพระบรมศาสดาทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณสี่
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ผู้มีจิดเกษม
เครื่องผูกมัดเหล่านี้เปรียบเหมือนเชือกสี่เกลียว ที่ผูกมัดตัวเราไว้กับภพ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่รู้จบสิ้น สัตวโลกต้องพบกับภัยทั้งหลาย ดิ้นกันไม่หลุด จิตจึงไม่พบกับความเกษมสำราญ มีสุขมีทุกข์คลุกเคล้ากันไป สุกๆดิบๆ จะหาสุขจริงๆนั้น ยังหาไม่พบ มีแต่หลงเพลิดเพลินไปวันๆ สภาวะของจิตเกษมจึงไม่เคยพบเจอไม่เคยรู้จัก
ร่วมลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันพ่อ
ลงนามถวายพระพรวันพ่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยบุญบารมี
เรื่องมีอยู่ว่า พญาปฐวินทรนาคราช ผู้ได้เสวยสุขอยู่ในนาคพิภพ สมบูรณ์ด้วยสมบัติอันโอฬารล้วนด้วยรัตนชาติ พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณทั้งห้า ครั้นได้เสวยสุขสมบัติอันซ้ำซากจำเจอย่างนั้นนานวันเข้า เกิดความเบื่อหน่ายในนาคพิภพ อันเป็นปกติของหมู่สัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงดำริอยู่ในใจว่า"แม้เราจะสมบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยรัตนสมบัติมากมาย แต่ก็ไม่ได้ประเสริฐเท่าใด เพราะยังไม่พ้นจากกำเนิดของสัตว์ที่ต้องเลื้อยคลานไปได้"
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๑ )
พระราชาทรงมองดูลำต้น พลางดำริว่า ต้น มะม่วงต้นนี้ เมื่อเช้านี้เอง ยังเต็มไปด้วยผล เป็นพวงสวยงาม ทำความอิ่มตาเบิกบานใจให้แก่ผู้พบ เห็นที่ผ่านมาผ่านไป มาบัดนี้ ถูกเก็บผลหมดแล้ว มีกิ่งหักห้อยรุ่งริ่งดูไม่งาม แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล พระองค์ทรงกำหนดไตรลักษณ์เช่นนี้ ทรงเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ผู้ชี้หนทางสว่าง
เรื่องมีอยู่ว่า พระเจ้าพรหมทัต ท่านหลงผิด ไปติดใจในการเสวยเนื้อมนุษย์ จึงทำบาปกรรมจนถูกเนรเทศออกไปจากเมือง พระองค์ได้ไปอาศัยอยู่ใต้ต้นไทรในป่า เปลี่ยนชื่อเป็น โจรโปริสาท คอยดักฆ่าคนที่เดินทางผ่านมา แล้วเอาเนื้อมากิน จนข่าวนี้ลือกันไปทั่วชมพูทวีป
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - มีไมตรีจิตต่อกัน
ข้าแต่พญาหงส์ ในยามผลดกนกทั้งหลายก็ชุม แต่พอผลวายนกทั้งหลายก็ไปไม่เหลียวแล ตอนมีผลประโยชน์ใครๆ ก็เห็นคุณค่า แต่ตอนที่หมดประโยชน์ ใครบ้างเล่าจะนึกถึงผู้มีอุปการคุณ เราจะไม่ไปไหนทั้งนั้น ต้นไม้นี้เป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งญาติของเรา เราต้องการเป็นอยู่เพียงเท่านี้ ขอเพียงได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับต้นไม้ที่มีพระคุณกับเราเท่านั้น
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม - ทําสิ่งแวดล้อมให้เป็นปฏิรูปเทส ( ๓ )
โดยปกติเมื่อพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม แม้คนฟังยืนอยู่ข้างหน้า ข้างหลังหรืออยู่เลยไปร้อยจักรวาล พันจักรวาลก็ตาม อยู่ในรูปภพหรืออรูปภพก็ตาม ต่างพากันกล่าวว่า "พระศาสดาทอดพระเนตรดูเราคนเดียว ทรงแสดงธรรมโปรดเราคนเดียว" นี้คืออานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา