อานิสงส์บูชาด้วยดอกราชพฤกษ์
ดิฉันได้เห็นพระภิกษุรูปหนึ่ง ท่านเดินบิณฑบาตอยู่ในพระนคร ตอนนั้น ดิฉันเองไม่มีไทยธรรมอะไรที่จะถวายท่าน มีเพียงดอกราชพฤกษ์กำหนึ่งเท่านั้น แม้กระนั้นก็ตาม ดิฉันคิดว่า การที่เราเห็นบุญเขตเช่นนี้แล้ว จะไม่ถวายอะไรเลยนั้นเป็นการไม่สมควร จึงน้อมถวายดอกราชพฤกษ์นั้นแด่พระภิกษรูปนั้น ด้วยผลแห่งบุญนั้น ดิฉันจึงได้ทิพยสมบัติเช่นนี้
อานิสงส์บูชาเจดีย์ด้วยดอกไม้ ๘ ดอก
ข้าพเจ้ามีใจเลื่อมใส ยกดอกไม้กำแปดดอกขึ้นบูชาพระสถูปแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ด้วยมือของตนเอง ด้วยอานุภาพแห่งผลบุญในครั้งนั้น ทำให้เป็นผู้ที่มีวรรณะงดงามเช่นนี้
อเนกวรรณเทพบุตร
ข้าพเจ้าได้ชักชวนคนอื่นๆ ให้ทำบุญว่า ท่านทั้งหลายจงบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าผู้ควรบูชาเถิด เมื่อท่านทั้งหลายละอัตภาพนี้แล้ว จักได้ไปเสวยสุขในสุคติสวรรค์ ข้าพเจ้าได้กระทำกุศลกรรมอย่างนั้นแล้ว จึงได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ด้วยตน และบันเทิงอยู่ในท่ามกลางหมู่ทวยเทพ
กรรมของการรังแกสัตว์
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ใครทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
กรรมของการไม่เป็นภรรยาที่ดี
คนพาลทำบาปกรรมทั้งหลาย ก็ไม่รู้สึกตัว ผู้มีปัญญาทราม ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนในภายหลัง ดุจถูกไฟไหม้
โทษของการกักขังสัตว์
บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ ถึงจะหนีไปทางอากาศ ก็พ้นจากกรรมชั่วไปไม่ได้ หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็พ้นจากกรรมชั่วไปไม่ได้ หนีเข้าไปในซอกเขาก็ไม่พ้นจากกรรมชั่วได้ ไม่มีสถานที่ใด ที่จะพ้นจากการรับผลกรรมชั่วได้เลย
ฝึกเด็กอย่างไรโตไปไม่โกง
โต ไป ไม่ โกง ทำอย่างไรจะฝึกเด็กให้โตไปไม่โกง ไม่ทุจริต คอรัปชั่น หลักการปลูกฝังไม่ให้คนในสังคมมีนิสัยคดโกง หรือคอรัปชั่นทำได้ แต่ต้องเริ่มกันตั้งแต่เด็กๆ ถึงจะได้ผล
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๑)
ครั้นพ่อค้าผู้ไม่มีความผิดถูกประหารชีวิตแล้ว ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้เพียงเล็กน้อย จึงไปบังเกิดเป็นเปรตผู้มีฤทธิ์ มี ม้าอาชาไนยทิพย์สีขาวเป็นยานพาหนะ กลิ่นทิพย์หอมฟุ้งออกจากกาย ด้วยอานิสงส์ของการทำทางด้วยกะโหลกศีรษะโค และการกล่าวสรรเสริญคุณของผู้อื่น แต่กลับต้องเป็นผู้เปลือยกาย เพราะบาปกรรมเพียงเล็กน้อย ที่ได้นำเสื้อผ้าของเพื่อนไปซ่อนด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง
อรหัตตภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๔ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยอภิญญาของตนเอง เข้าถึงทิฏฐธรรมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้คือสมณะที่ ๔ ในพระพุทธศาสนา
ระแวงภัยที่ควรระแวง
ธีรชนควรระแวงภัยที่ควรระแวง ควรระวังภัยที่ยังมาไม่ถึง ธีรชนย่อมพิจารณาเห็นโลกทั้งสอง ควรระวังภัยในอนาคต