มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - แม้เป็นคนดี ก็ไม่ควรประมาท
รุ่งขึ้น พระราชาให้นำไหขนาดใหญ่บรรจุคูถจนเต็ม เอาใบตองมาผูกปากไหไว้ ให้ไปตั้งเรียงกัน ใส่น้ำมันยาง ต้นกากะทิง และหนามงิ้วหนาๆ จนเต็มหม้อ วางไว้หัวบันได ทรงให้พวกนักมวยร่างใหญ่ ถือค้อนยืนอยู่ใกล้ๆ หัวบันได จากนั้นพระองค์ทรงรอคอยด้วยความอาฆาตแค้นที่สุมแน่นอยู่ในอก
คำว่าอจินไตยหมายถึงอะไร ?
อจินไตย แปลว่า เรื่องที่ไม่ควรคิด เพราะเกินภูมิปัญญาของมนุษย์ที่จะใช้ความคิดปกติไปคิดได้ คิดแล้วจะมีส่วนแห่งความเป็นบ้าการตั้งประเด็นปัญหา รวบรวมข้อมูล ทดลองวิจัย สุดท้ายก็สรุป ใช้ไม่ได้กับเรื่องอจินไตย
วิธุรบัณฑิต บำเพ็ญสัจบารมี (๔)
มนุษย์ต่างเสาะแสวงหาความรู้ต่างๆ จากตำรับตำราบ้าง จากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน ผนวกกับประสบการณ์ของตัวเองบ้าง
กตัตตากรรม
ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ ใครทำกรรมใดไว้ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ดีหรือชั่วก็ตาม ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ ตนจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
ความสุขของพระโสดาบัน
ความทุกข์ที่หมดไปของอริยสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิ บรรลุอริยมรรคแล้ว มีปริมาณมาก ส่วนความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย ความทุกข์ที่จะมีอีก ๗ อัตภาพเป็นอย่างยิ่งนั้น เมื่อเทียบกันเข้ากับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปอันมีอยู่ในครั้งก่อนแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ เลย ภิกษุทั้งหลาย การได้บรรลุอริยธรรม ย่อมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล การได้ธรรมจักษุ ย่อมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
ปัจเจกพุทธภูมิ
ผู้หยั่งลงในความเพียรในกาลก่อนย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ คือ ๑.ทำให้ได้บรรลุพระอรหัตตผลในปัจจุบัน ๒.ถ้ายังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผลในปัจจุบัน ย่อมให้บรรลุพระอรหัตตผลในเวลาใกล้จะตาย ๓.ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะเป็นเทวบุตรบรรลุพระอรหัตตผล ๔.ถ้าไม่อย่างนั้น จะเป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้ได้เร็ว ในเมื่ออยู่ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๕.ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ในภพสุดท้ายจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๓ ชนะสัจจกนิครนถ์)
พื้นฐานชีวิตของมนุษย์ทุกคน ล้วนมีความทุกข์กันทั้งนั้น ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงบัดนี้ เราต้องพบกับความทุกข์ และส่วนใหญ่ยังไม่เคยพบความสุขที่แท้จริง
เราคือ..ผู้ออกแบบชีวิต
การที่เรามองโลกด้วยมุมมองแตกต่างกัน เป็นเพราะเราเกิดมาแตกต่างกัน ได้สัมผัสโลกในแง่มุมที่ต่างกัน และมีประสบการณ์ในโลกนี้ต่างกัน ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาระบุว่า “กรรม”เป็นตัวกำหนดความแตกต่างเหล่านี้
อยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม
ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุสี่ที่ไม่บริสุทธิ์จึงเสื่อมสลายตลอดเวลา ทำให้ต้องหา ธาตุสี่จากภายนอกมาเติมเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด ดังที่เราต้องประกอบกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติมธาตุสี่ แต่กายนั้นก็ทำกรรมตามที่ใจของเราเป็นตัวสั่งการ ส่วนของใจทำหน้าที่รู้และคิด ส่วนของกายพูดและทำ