มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ตั้งเป้าหมายชีวิต ลิขิตอนาคต
ถ้าตัวเองยังไม่มีศรัทธา ก็ตั้งตนไว้ในศรัทธา ถ้าตัวเองเป็นคนตระหนี่ ก็ตั้งเป้าหมายทำทานให้ได้สม่ำเสมอ ถ้าตัวเองยังไม่มีศีล ก็ตั้งเป้าหมายให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ดังเช่นโจรที่กลับตัวกลับใจ ปรับแนวทางชีวิตของตน ให้มุ่งตรงต่อสวรรค์นิพพานได้ทัน ดังเรื่องมีอยู่ว่า
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๔ )
จะเล่าเรียนอะไร ก็ทำไปเถิด เพราะเรายังเป็นมนุษย์ ต้องใช้ความรู้ทำมาหากินเลี้ยงชีพ แต่อย่าลืมศึกษาธรรมะไปด้วย เราต้องศึกษาความจริงของชีวิต ที่จะเป็นเข็มทิศนำพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง จะทำมาหากินก็ทุ่มเททำกันไป แต่อย่าลืมทำบุญติดตัวควบคู่ไปด้วย
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๒ )
ด้วยอานุภาพบุญของพระโอรสที่อยู่ในพระครรภ์ เมื่อข้าวกล้าออกรวง ปรากฏว่า ข้าวแต่ละต้นจะแตกงอกออกเป็นร้อยเป็นพันเมล็ด และเมื่อหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา ๑ ไร่ จะได้ข้าว ถึง ๕๐ - ๖๐ เกวียน ขณะขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง ชาวเมืองต่างขอให้พระนางสุปปวาสาจับที่ประตูของยุ้งฉาง แม้ข้าวในยุ้งฉางจะถูกขนออกไปเท่าไร แต่ก็ไม่รู้จักหมดสิ้น
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ของแท้ของเทียม
วันรุ่งขึ้น เมื่อนิครนถ์ ๕๐๐ คน มาถึง สิริคุตต์ออกไปต้อนรับ พลางนึกในใจว่า "หากนิครนถ์เหล่านี้เป็นผู้รู้จริง จงอย่าเข้ามาในเรือน เพราะในเรือนนี้ไม่มีภัตตาหาร มีแต่หลุมคูถ"
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 2
“บุคคลใดแสวงหาภัตตาหารมาได้โดยชอบธรรม แล้วเลี้ยงดูบิดามารดา เขาผู้นั้นย่อมได้บุญมาก เมื่อละจากโลกแล้วย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์” ท่านเกิดความร่าเริงยินดีว่า “เราเข้าใจผิดมานานว่า คนที่จะสามารถปฏิบัติบำรุงบิดามารดาได้ ต้องเป็นคฤหัสถ์เท่านั้น แต่พระศาสดาได้ตรัสแล้วว่า แม้จะเป็นบรรพชิตก็สามารถทำอุปการะแก่บิดามารดาได้ ...ช่างดีจริง หากเราไม่ได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วไซร้ ป่านนี้เราก็คงต้องเสื่อมจากชีวิตสมณะ คงต้องลาสิกขาไปแล้วเป็นแน่
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 1
เขามีชีวิตสะดวกสบายอยู่บนปราสาท ไม่ต้องทำงานอะไรด้วยมือของตนเลย วันหนึ่งเขาได้เกิดความคิดว่า “มหาชน เดินผ่านถนนหน้าบ้านเราไปสู่อารามเพื่อฟังธรรมทุกวัน เราแม้จะอยู่ใกล้เพียงแค่นี้เอง แต่ก็ไม่เคยได้ไปเลย วันนี้เราจะไปวัดไปฟังธรรมเหมือนพวกเขาบ้าง”
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๒ ( ผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน )
เมื่อมโหสถบัณฑิตเข้ารับราชการ ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ผ่านช่วงเวลาที่วิกฤติมาพอสมควร การกระทำของท่านได้พิสูจน์ความเป็นบัณฑิตอย่างแท้จริงให้พระราชาได้เห็น ทำให้พระเจ้าวิเทหราช ทรงมีพระหฤทัยโสมนัส ทรงเลื่อมใส ในคุณสมบัติของมโหสถเป็นอย่างยิ่ง ทรงดำริให้มโหสถบัณฑิติเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๑ ( ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา )
จากเรื่องนี้จะเห็นว่า โทษของการบอกความลับแก่คนอื่น โดยที่ยังไม่ถึงเวลาสมควรมีโทษถึงตายทีเดียว ก่อนพูดจาเราเป็นนายของคำพูด ครั้นพูดไปแล้วคำพูดจะเป็นนายของเรา เพราะฉะนั้น ต้องฝึกเรื่องการพูดจาให้ดี เรื่องไหนควรพูด เรื่องไหนควรเก็บไว้เป็นความลับ ให้รู้จักเลือกให้ดี
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๘ ( ผดุงคุณธรรม )
บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้นเพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นผู้ชั่วช้า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าบุคคลหักกิ่งต้นไม้ที่ตนได้บริโภคชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรไซร้ ผู้ที่ประทุษร้ายต่อผู้มีพระคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม จะเป็นคนเช่นไรเล่า
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๖ ( ลี้ภัยการเมือง )
วันหนึ่ง เสนกะได้แอบปรึกษาหารือกับปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะ ว่าทำอย่างไรจึงจะกำจัดมโหสถได้ มิเช่นนั้นพวกตน ก็จะเหมือนวัวแก่ที่ไม่มีค่าแก่การเทียมเกวียน เสนกะได้ออกอุบายด้วยการแอบไปลักขโมยพระจุฬามณีของพระราชา ให้ท่านปุกกุสะไปขโมยสุวรรณมาลา...