อลีนจิตตชาดก ชาดกว่าด้วยกัลยาณมิตร
ณ นครสาวัตถีมีภิกษุรูปหนึ่งเมื่อบวชแล้วก็ไม่สามารถบรรลุในพระธรรมได้สักที ภิกษุรูปนี้หมดความหวัง ละความเพียรที่จะปฏิบัติธรรมอีกต่อไป
อัคคิกชาดก ชาดกว่าด้วยท่านอัคคิกะ
สุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์ ได้ใช้กลอุบายทำทีว่าตนเป็นผู้มีศีล เข้าไปอาศัยอยู่ร่วมกับฝูงของพวกหนู เพื่อจะหลอกกินเป็นอาหาร แต่ในที่สุดพญาหนูโพธิสัตว์ก็ล่วงรู้ในแผนการของมัน และกำจัดมันได้ในที่สุด
กัฏฐหาริชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษแห่งการแบ่งชนชั้น
ณ ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนานั้นยังมีการถือชนชั้นกีดกันวรรณะกันอย่างรุนแรงแม้แต่ในหมู่พระประยูรญาติขององค์พระพุทธศาสดาเอง อุษาสางวาระหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอดส่องพระญาณก็ทรงพบว่า ความทุกข์เวทจากวรรณะได้เกิดกับพระญาติแห่งศากยวงศ์
โมรณัจจชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ขาดหิริโอตัปปะ
ครั้นเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธรัฐแล้ว ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ อันมีฉายาว่าเบญจคีรี ที่มีภูเขาทั้ง 5 เป็นปราการมาประทับยังนครสาวัตถีในแคว้นโกศลนั้น แสงธรรมจากพระพุทธองค์ก็ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดินอนุทวีป
วัฏฏกาชาดกว่าด้วยอำนาจแห่งการตั้งสัตยาธิษฐาน
วัฏฏกาชาดก เป็นเรื่องของการอธิษฐาน อธิษฐานจิตอย่างไรให้ถูกต้องและเป็นจริงได้ หลักการอธิษฐานขึ้นอยู่กับคุณภาพของจิต เราควรยังจิตนึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ทบทวนศีล 5 ให้บริสุทธิ์ จำเป็นหรือไม่?!!
กุกกุรชาดก-ชาดกว่าด้วยการสงเคราะห์ญาติ
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายนั่งสนทนากันอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร ถึงเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช่วยให้พระประยูรญาติจำนวนมากได้บรรลุธรรมถึงความพ้นทุกข์ และในจำนวนนั้นมีพระประยูรญาติหลายพระองค์ได้มาเป็นกำลังใจในการเผยแพร่แผ่พระพุทธศาสนา
เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา
“ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก
สีลวนาคชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ดื้อรั้นว่ายาก
อาจารย์นักกระโดดข้ามหอกผู้ดื้อรั้น ผู้ไม่ยอมรับฟังคำเตือนของใคร แม้แต่ศิษย์ที่รักและหวังดีต่อเขา และด้วยความอวดดี ดื้อดึงของเขา เลยทำให้เขาพบจุดจบลงอย่างน่าอนาถ
พกชาดก-ชาดกว่าด้วยบาปกรรมของผู้ฉลาดแกมโกง
พระเชตะวันมหาวิหาร ณ เวลาในพุทธกาลสมัยหนึ่งยังมีพระภิกษุผู้มีศิลปะในการตัดเย็บ ย้อมสี ปะ ชุนจีวร ฝีมือดีจนเป็นที่ยอมรับในหมู่สงฆ์ ภิกษุรูปนี้ชาญฉลาดในการทำจีวรให้งาม ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันขนานนามตามความหมายนั้นว่า พระจีวรวัฒฑกะ
มาตุโปสกชาดก-ชาดกว่าด้วยพญาช้างยอดกตัญญู
ในสมัยหนึ่งครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตะวันเมืองสาวัตถี ได้เกิดเรื่องราวถกเถียงกันในหมู่สงฆ์ ถึงเรื่องวินัยสงฆ์ของภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ภิกษุที่ว่านี้เมื่อออกบวชในพุทธศาสนาก็ไม่สามารถปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังได้ เพราะต้องคอยมาปรนนิบัติผู้เป็นมารดาที่อาศัยอยู่ในบ้านตามลำพัง