สายตาผิดปกติ - ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ
คนที่สายตาปกติ เวลาเขามองอะไรไม่ว่าใกล้หรือไกลก็ชัดทั้งนั้น ทำไมถึงชัด ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ถูกว่า เลนส์ตาไม่ใช่แข็งเป็นแก้ว แต่เป็นเนื้อเยื่อใสๆ ที่ยืดหดได้ โดยอาศัยกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ เลนส์ตา ทำหน้าที่ปรับเลนส์
กระเพาะอาหารอักเสบ - โรคเกี่ยวกับหลัง - ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจาก..กล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลังตึง การไหลเวียนถูกปิดกั้น ทำให้สัญญาณประสาทซิมพาเธติคบกพร่อง กรดจึงหลั่งไม่หยุด เมื่อกรดมีจำนวนมากก็กัดทำลายกระเพาะ ทำให้เยื่อบุกระเพาะเกิดการอักเสบ
ปวดข้อ - ตัวอย่างโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ
ตามธรรมดาเมื่อมีอาการปวดข้อ คนเราก็สนใจดูแลเฉพาะแต่ตรงข้อ หรืออย่างมากก็บอกว่า กล้ามเนื้อตรงบริเวณข้อไม่แข็งแรง จึงพยายามบริหารกล้ามเนื้อตรงข้อนั้นให้แข็งแรง แต่ความจริงมีอยู่ว่า กล้ามเนื้อที่ไม่ได้รับสัญญาณประสาทจากสมองจะบริหารอย่างไรก็ยากที่จะกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม
ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจของการเกิดโรค ตอนที่ 3
ถ้ามีการเกร็งของกล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลังเกิดขึ้น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ตามแนวกระดูกสันหลังนี้จะมีการดึงรั้งกันจึงเป็นเหตุให้การไหลเวียนถูกปิดกั้น และการไหลเวียนของเส้นประสาทที่ผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลังบริเวณนั้นและการส่งสัญญาณบกพร่อง
เวลาพักของใจ
เมื่อเราทำงานหนัก เราเหนื่อยก็ต้องพักผ่อนนอนหลับ แต่เมื่อใจเราล้า เราจะให้ใจเราได้พักด้วยวิธีใด
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างของร่างกาย มีความแข็งแรง มีความทนทานสูง มีความยืดหยุ่น และมีความคล่องตัว ย่อมส่งเสริมให้การรักษาภาวะสมดุลโครงสร้างของร่างกายมีประสิทธิยิ่งขึ้น
นวดอย่างไร จึงจะเหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม (2)
ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ มักจะมีปัญหาเรื่องปวดหลังเพราะชอบเผลอนั่งหลังงอ ปัญหานี้สามารถนวดคลายอาการปวดหลังด้วยตนเองได้ง่ายๆ
การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
วิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อมีอยู่หลายวิธี เช่น การนวด โยคะ ฤๅษีดัดตน การฝังเข็ม เป็นต้น ถ้าปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของแต่ละวิธี ย่อมสามารถคลายกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดุลยภาพบำบัด
ดุลยภาพบำบัด คือ วิธีการป้องกันบำบัดรักษาโรคและบำรุงสุขภาพ ด้วยการปรับความสมดุลโครงสร้างของร่างกาย ดุลยภาพบำบัดจึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ด้านสุขภาพและการแพทย์ที่ประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางกายวิภาคและสรีรวิทยา เพื่อป้องกันและรักษาโรคด้วยตนเอง
การระวังรักษาภาวะสมดุลของอิริยาบถ
การระวังรักษาภาวะสมดุลของอิริยาบถ หมายถึง ในการนั่ง นอน ยืน เดิน วิ่ง ทำงานหรือกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ต้องฝึกตัวเอง ให้มีสติระวังรักษาแนวกระดูกสันหลังให้อยู่ในแนวแกนปกติของร่างกายอยู่เสมอ ด้วยการยืดแนวกระดูกสันหลังอย่างถูกวิธี