มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๔)
แม้ท่านเป็นพระอรหันต์ ก็ยังถูกฆราวาสกล่าวหา นับประสาอะไรกับพวกเรา ซึ่งเป็นคนเดินดินธรรมดา มีหรือที่จะพ้นคนครหานินทา แต่หน้าที่ของเรา จะต้องตั้งสติทำใจให้หนักแน่น และสร้างความดีกันต่อไป และอีกอย่างหนึ่งที่พวกเราควรตระหนักคือ เป็นคฤหัสถ์ไม่ควรไปกล่าวร้ายพระสงฆ์ผู้ทรงศีล มันจะเป็นบาปติดตัวไป สนุกปากแต่ลำบากเรา
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - กลิ่นแห่งความหลุดพ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสตอบติสสฤๅษีว่า ชนเหล่าใดฆ่าสัตว์ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย มีความเห็นว่า ทานที่บุคคล ให้แล้วไม่มีผล เป็นผู้ประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ให้ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อ และโภชนะไม่ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบ และสัตว์เหล่าใดขวนขวายในอกุศลกรรม ตายแล้วย่อมเข้าถึงที่มืด มีศีรษะลงตกไปสู่นรก
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - อย่าอาฆาตกันเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าว่าแต่พระเจ้าสุปปพุทธะ จะขึ้นไปอยู่บนปราสาทชั้น ๗ และมีทหารกำยำล่ำสันเฝ้ารักษาประตูอยู่เช่นนี้เลย แม้จะมีฤทธิ์เหาะไปได้ในอากาศ หรือจะทรงหนีไปทางมหาสมุทร หรือจะทรงหนีเข้าไปในซอกเขา ก็จะต้องถูกแผ่นดินสูบที่เชิงบันไดของปราสาทนั่นแหละ เพราะถ้อยคำของตถาคตไม่เป็นสอง เรากล่าวอย่างไร ย่อมเป็นอย่างนั้น
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สอนตน สอนคนให้ถึงธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยอาการ ๓ อย่างด้วยกัน คือ ประการแรก ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ประการที่สอง ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังจะสามารถตรองตามให้เห็นจริงตามที่พระองค์ทรง แสดงได้ และประการสุดท้าย ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้นจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การปฏิบัติ
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ผลแห่งการถวายดอกปทุม
ครั้งหนึ่ง พระกาฬุทายีเถระได้สร้างบุญพิเศษที่ทำให้เกิดมหาปีติไม่เสื่อมคลาย คือ วันหนึ่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้าได้เสด็จจาริกไปโปรดสัตวโลก ครั้งนั้น ท่านได้เอาดอกปทุม ดอกอุบล ดอกมะลิซ้อนที่กำลังบานสวยงาม และข้าวสุกอย่างดีมาถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงรับด้วยหวังจะอนุเคราะห์ท่าน
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา - พญาช้างโพธิสัตว์
ความมืดมิดที่ปกคลุมดวงจิตของคนอกตัญญู มืดยิ่งกว่ากลางคืนที่ไร้แสงจันทร์ เพราะ ยามราตรีแม้ไม่มีแสงจันทร์ ก็ยังมีแสงจากดวงดาว แสงหิ่งห้อย แต่ถ้าเป็นคนอกตัญญูจิตใจมืดบอดแล้ว แม้แสงสว่างแห่งความดีทั้งหลายก็ไม่อาจส่องเข้าไปในจิตใจเขาได้ เขาจะมองไม่เห็นคุณความดีของใครเลย เหมือนเรื่องของนายพรานใจบาป
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - กัลยาณวาทะ
นิครนถ์นาฏบุตร เจ้าลัทธิเดียรถีย์ที่ไม่ชอบใจในพระบรมศาสดา เพราะศรัทธามหาชนของตนเองห่างเหินไป จึงแต่งปัญหาข้อหนึ่งเป็นโอวัฏฏิกสาระ คือปัญหาวนเวียน ไม่มีใครสามารถแก้ได้ ปัญหานี้นิครนถ์ใช้เวลา ๔ เดือน จึงคิดออก และยุให้อภัยราชกุมารเรียนปัญหานั้นจนแตกฉาน เพื่อจะได้ส่งไปโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
วันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติ
ดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวบนท้องฟ้า ด้วยกำลังแห่งรัศมี ฉันใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงอุบัติขึ้นย่อมรุ่งโรจน์กว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น
วันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพาน
หนฺท ทานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ นี่เป็นพระดำรัสสุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงรวบรวมพระโอวาททั้งปวงที่ได้ประทานมาตลอด ๔๕ พรรษานั้นลงในความไม่ประมาท
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ผู้อยู่้ใกล้พระรัตนตรัย
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอกราบนิมนต์พระองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เพื่อฉันภัตตาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น ด้วยสัญญาณของหม่อมฉันนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเถิดว่า พระองค์เป็นผู้อันหม่อมฉันนิมนต์ไว้แล้ว"