ธัมมัสสวนมัย ฟังธรรมเป็นนิจจิตแจ่มใส
การฟังธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกชีวิตยิ่งกว่าความรู้ทางโลกที่ร่ำเรียนมา เพราะจะทำให้เกิดดวงปัญญาสว่างไสว สามารถพิจารณาเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ทำให้มีชีวิตอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ปลอดภัยจากอบายภูมิ
ศีล คุ้มครองตนจากบาปและอกุศล
ศีล ในทางปฏิบัติหมายถึงการงดเว้นจากการประพฤติผิดทางกายและวาจา การควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อยงดงาม ให้ปราศจากความมัวหมอง ไม่ให้ผิดปกติธรรมดา กล่าวคือการไม่ทำผิดไม่พูดผิดนั่นเองจัดเป็นศีล ซึ่งจัดเป็นคุณธรรม ที่ทำให้เข้าถึงความเป็นยอดคน เป็นบุคคลผู้สมบูรณ์แบบ มีความเป็นปกติ เป็นผู้ที่เย็นกาย เย็นใจ และมีชีวิตที่ปลอดโปร่ง ปลอดภัยอยู่เสมอ
อาวาริยชาดก ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล
ฤาษีได้ให้โอวาทคนแจวเรือ ซึ่งเป็นคนที่โง่เขลา มีนิสัยดุร้าย ขี้โกง " ขอให้ท่านจงอย่าคิดเคืองโกรธไม่ว่าจะในที่ใด ๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีที่อาตมาจะให้ ” “ อะไรกันท่านฤาษี นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านจะให้ผมหน่ะ ” “ ใช่แล้วล่ะโยม ” “ ไม่ได้ ข้าไม่ยอม เอาของดีของท่านเก็บไว้ใช้กับตัวเถิด ค่าจ้างของข้า ต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว เอาเงินมาให้ข้า ข้าต้องการเงินเท่านั้น ” ว่าแล้วคนแจวเรือก็ได้ทำการตบตี ทำร้ายฤาษีในทันที
สาลิเกทารชาดก ชาดกว่าด้วยนกแขกเต้าเลี้ยงพ่อแม่
พญานกแขกเต้าผู้มีความกตัญญูต่อบิดามารดาของตน และมีจิตเมตตา ต่อทุกสรรพชีวิตแม้แต่พราหมณ์โกสิยะเจ้าของไร่ข้าวสาลี ผู้ที่สั่งให้คนดูแลไร่ข้าวสาลี ไปจับตนมา ซึ่งต่อมาในภายหลัง พราหมณ์โกสิยะก็ได้ชื่นชมยกย่องคุณธรรมความโอบอ้อมอารี ความกตัญญู ของพญานกแขกเต้า
จันทกินรีชาดก-ชาดกว่าด้วยความผูกพันจงรักภักดี
ครั้งเมื่อพระพุทธศาสดาเสด็จสู่แคว้นสักกะแห่งศากยวงศ์ พร้อมพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้ายและขวาและสังฆสาวกทั้งมวล พุทธกาลครั้งนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์นครหลวงของแคว้นสักกะ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดา
โภชาชานียชาดก-ชาดกว่าด้วยความเพียรอันยิ่งใหญ่
พุทธกาลครั้งนั้น ณ เชตวันมหาวิหารในนครสาวัตถี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระเมตตาธิคุณต่อพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งกำลังเบื่อหน่ายคลายความเพียรลง ทรงอนุเคราะห์ด้วยพุทธวาจาว่า “ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตในกาลก่อนนั้นได้ทำความเพียรที่ไม่น่าจะทำได้ แม้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเพียงใด ก็มิได้ละความเพียร” แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงระลึกชาติด้วย บุพเพนิวาสนุสติญาณด้วยชาดกขึ้นเรื่องหนึ่ง โภชาชานียชาดก ความเพียรอันยิ่งใหญ่
มหากัณหชาดก-ชาดกว่าด้วยคราวที่สุนัขดำกินคน
ตั้งแต่พระพุทธศาสดาทรงตรัสรู้บรรลุสัมโพธิญาณ แสดงพระธัมมจักกัปวัตนสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์ แสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฏิล 3 พี่น้อง โปรดองคุลิมาล คนบาปจนตั้งอยู่ในอรหัตผล เสด็จโปรดเหล่าเทวดา 80 โกฏิจนบรรลุธรรม
กิงฉันทชาดก ชาดกว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น
ในความยาวนานเป็นอสงไขยแห่งห้วงอนันตจักรวาลนี้ ทุกชีวิตล้วนเคยเกิดและตายมานับครั้งไม่ถ้วนจนกระดูกของคนนับได้ว่ากองเท่าภูเขาและสูงใหญ่ได้เท่ากับผู้อยู่ใกล้ตัวที่ต้องร่วมกรรมต้องกันมาทุกชาติทุกชีวิต มีความเป็นไปเช่นนี้เหมือนกันหมด
อลีนจิตตชาดก ชาดกว่าด้วยกัลยาณมิตร
ณ นครสาวัตถีมีภิกษุรูปหนึ่งเมื่อบวชแล้วก็ไม่สามารถบรรลุในพระธรรมได้สักที ภิกษุรูปนี้หมดความหวัง ละความเพียรที่จะปฏิบัติธรรมอีกต่อไป
กัฏฐหาริชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษแห่งการแบ่งชนชั้น
ณ ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนานั้นยังมีการถือชนชั้นกีดกันวรรณะกันอย่างรุนแรงแม้แต่ในหมู่พระประยูรญาติขององค์พระพุทธศาสดาเอง อุษาสางวาระหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอดส่องพระญาณก็ทรงพบว่า ความทุกข์เวทจากวรรณะได้เกิดกับพระญาติแห่งศากยวงศ์