ความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย
คำว่า ธรรมกาย เป็นศัพท์สมาส ที่อาจแปลเป็นคำคุณศัพท์ว่า ผู้มีธรรมเป็นกาย หรืออาจแปลเป็นคำนามก็ได้ว่า กายแห่งธรรม กายคือธรรมหรือ กายที่ประกอบด้วยธรรม
เราคือ..ผู้ออกแบบชีวิต
การที่เรามองโลกด้วยมุมมองแตกต่างกัน เป็นเพราะเราเกิดมาแตกต่างกัน ได้สัมผัสโลกในแง่มุมที่ต่างกัน และมีประสบการณ์ในโลกนี้ต่างกัน ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาระบุว่า “กรรม”เป็นตัวกำหนดความแตกต่างเหล่านี้
อยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม
ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุสี่ที่ไม่บริสุทธิ์จึงเสื่อมสลายตลอดเวลา ทำให้ต้องหา ธาตุสี่จากภายนอกมาเติมเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด ดังที่เราต้องประกอบกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติมธาตุสี่ แต่กายนั้นก็ทำกรรมตามที่ใจของเราเป็นตัวสั่งการ ส่วนของใจทำหน้าที่รู้และคิด ส่วนของกายพูดและทำ
มหารถเทพบุตร
ข้าแต่ท่านผู้เป็นมุนี เมื่อใครๆ หวังอยากเป็นผู้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และรูปอันประณีต อย่าพึงมีใจข้องอยู่ในสิ่งอื่น พึงยังข้าวและน้ำอันตนตบแต่งดีแล้วเป็นอันมาก ให้ตั้งไว้ในพระพุทธเจ้า เพราะใครๆ ในโลกนี้หรือโลกอื่น จะเป็นผู้ประเสริฐกว่า หรือเสมอด้วยพระพุทธเจ้า มิได้มี พระตถาคตเจ้านั้น ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่งกว่าบุคคลผู้ควรบูชาทั้งหลาย ของชนผู้มีความต้องการบุญ แสวงหาผลอันไพบูลย์
กำหนดการวันลอยกระทง ณ วัดพระธรรมกาย (วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
ขอเชิญร่วมพิธีลอยกระทงธรรม และฉลองชัยสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 (วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(7)
ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ก็ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ก็ทำได้ยาก พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษ พวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้ยากแสนยาก เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ และพวกอสัตบุรุษจึงต่างกัน พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ - คนกินเดนหรือคนกินซากศพ
ฤๅษีได้ยินนกพูดดังนั้น ต่างถามกันว่า ที่นกแขกเต้าพูดนั้น ชมเราหรือติพวกเรากันแน่ นกพูดขึ้นทันทีว่า เราไม่ได้กล่าวชมพวกท่านหรอก เพราะพวกท่านกินซากศพ ไม่ได้กินเดน ฤๅษีย้อนถามว่า พวกเราได้สละเรือน สละเพศฆราวาสออกบวช ไม่เคยไปเบียดเบียนใคร มีชีวิตอยู่ในป่าด้วยการอาศัยซากสัตว์ที่เสือเหลือง เสือโคร่งล่ามาแล้วทิ้งไว้ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ท่านจะมาติเตียนเราได้อย่างไร
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๔)
มาถึงตอนนี้พระโพธิสัตว์ได้ตัดสินคดีความเละตรัสตอบคำถามที่นายคามณิจันท์รับปาก เขามาถามทั้งหมดไม่่ว่าจะเป็นเรื่องของพราหมณ์มาณพกลุ่มหนึ่งที่เรียนมนต์ได้ไม่ดี เรื่องที่น้ำในสระของพญานาคขุ่น เรื่องของนกกระทาที่ไม่ยอมไปจากจอมปลวก เรื่องของเนื้อที่ชอบกินหญ้าใต้ต้นไม้นั้น เรื่องของงู และเรื่องอื่นๆ พระโพธิืสัตว์จะทรงตัดสินคดีความและตอบคำถามเช่นไรนั้น
มงคลที่ ๙ มีวินัย - อานิสงส์แห่งศีล
พระปัญจสีลสมาทานิยเถระ เกิดเป็นคนยากไร้ ต้องทำงานรับจ้างอยู่ในนครจันทวดี แต่ท่านเป็นคนมีปัญญา สามารถสอนตนเองได้และรู้ถึงโทษภัยในสังสารวัฏ จึงปรารถนาอยากบวช แต่ก็ยังหาโอกาสไม่ได้ จึงคิดว่า เพราะเราเป็นคนยากไร้ ต้องทำงานรับจ้างเลี้ยงชีวิตไปวันหนึ่งๆ ไทยธรรมของเราที่จะมาทำทานก็ไม่มี จึงไม่สามารถให้ทานได้ อย่างไรก็ตาม ในภพชาตินี้อย่างน้อยเราก็ยังสามารถรักษาศีล ๕ ให้บริบูรณ์ได้