สีลวนาคชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ดื้อรั้นว่ายาก
อาจารย์นักกระโดดข้ามหอกผู้ดื้อรั้น ผู้ไม่ยอมรับฟังคำเตือนของใคร แม้แต่ศิษย์ที่รักและหวังดีต่อเขา และด้วยความอวดดี ดื้อดึงของเขา เลยทำให้เขาพบจุดจบลงอย่างน่าอนาถ
พกชาดก-ชาดกว่าด้วยบาปกรรมของผู้ฉลาดแกมโกง
พระเชตะวันมหาวิหาร ณ เวลาในพุทธกาลสมัยหนึ่งยังมีพระภิกษุผู้มีศิลปะในการตัดเย็บ ย้อมสี ปะ ชุนจีวร ฝีมือดีจนเป็นที่ยอมรับในหมู่สงฆ์ ภิกษุรูปนี้ชาญฉลาดในการทำจีวรให้งาม ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันขนานนามตามความหมายนั้นว่า พระจีวรวัฒฑกะ
มาตุโปสกชาดก-ชาดกว่าด้วยพญาช้างยอดกตัญญู
ในสมัยหนึ่งครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตะวันเมืองสาวัตถี ได้เกิดเรื่องราวถกเถียงกันในหมู่สงฆ์ ถึงเรื่องวินัยสงฆ์ของภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ภิกษุที่ว่านี้เมื่อออกบวชในพุทธศาสนาก็ไม่สามารถปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังได้ เพราะต้องคอยมาปรนนิบัติผู้เป็นมารดาที่อาศัยอยู่ในบ้านตามลำพัง
คิริทัตตชาดก-ชาดกว่าด้วยการเอาอย่าง
สมัยนั้นมีสหายสองคนเป็นชาวเมืองราชคฤห์ สองสหายนั้นคนหนึ่งบวชในสำนักพระศาสดาอีกคนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมได้พบเห็นกันเสมอ แม้ไปวิหารก็ยังได้พบเห็นกัน ภิกษุที่บวชในสำนักพระศาสดาเมื่อบวชแล้วต้องปฏิบัติกิจสงฆ์อยู่เป็นนิจ ต่างจากสหายที่บวชในสำนักพระเทวทัตที่ไม่มีกิจใดที่พึงต้องทำ
มุทุลักขณชาดก-ชาดกว่าด้วยกามกิเลสคือต้นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
สมัยพุทธกาลผ่านมาพระเชตะวันมหาวิหารของพระบรมศาสดาร่มเย็นเป็นที่พึ่งพาของเวไนยสัตว์อย่างทั่วถึง ดุจแสงจันทร์วันเพ็ญอันสว่างนวลทั่วปริมณฑล แต่จันทร์กระจ่างฟ้าก็หาทำความรื่นรมย์ได้ทั่วทุกคนไม่ ยังมีภิกษุหนุ่มชาวสาวัตถีรูปหนึ่งกำลังกลัดกลุ้มอยู่กับความทุกข์ภายใต้แสงจันทร์นวลทุกราตรี
นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว
เมื่อฤดูฝนอย่างกรายมาถึงพระภิกษุทั้งหลายก็อยู่จำพรรษาตามพุทธบัญญัติ มิได้ออกเที่ยวจาริกที่ใดๆได้ตามปกติเป็นเวลานาน 3 เดือน ครั้นวสันตฤดูผ่านพ้นภิกษุในพระเชตะวันมหาวิหารก็พร้อมที่จะเดินทางออกไปเผยแผ่พุทธธรรมดังที่เคยกระทำต่อเนื่องกันมาอีกครั้ง
จุลลกเศรษฐี-ชาดกว่าด้วยความฉลาดในการสร้างฐานะ
ในสมัยพุทธกาลขณะที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอดส่องพระพุทธญาณ ณ วัดชีวกัมพวัณ กรุงราชคฤห์เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ผู้ตกทุกข์ดังที่ทรงบำเพ็ญอยู่เป็นนิจ พลันสายพระเนตรทรงเห็นภิกษุหนุ่มจุลลปัณฐกะที่ท้อถอยสิ้นความเพียร เนื่องด้วยมีสติปัญญาทึบ
คุณชาดก-ชาดกว่าด้วยมิตรธรรม
ครั้นหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ราษฎรใกล้ไกลล้วนศรัทธาพระพุทธศาสนาหลั่งไหลหารมาฟังธรรมเจริญภาวนาอยู่ไม่ว่างเว้น พระเทวีทั้ง 500 นางของพระเจ้ากรุงโกศลเองก็เช่นกัน แม้จะไม่ได้ออกมานั่งฟังธรรมอย่างคนอื่นๆได้ แต่ก็ได้นิมนต์พระอานนท์ไปเทศนาธรรมที่ในวัง เมื่อพระเทวีฟังธรรมจากพระอานนท์จบแล้วก็เกิดความเลื่อมใสถวายผ้าสาดกที่ได้รับมารวมทั้งหมด 500 ผืน
อาวาริยชาดก ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล
ฤาษีได้ให้โอวาทคนแจวเรือ ซึ่งเป็นคนที่โง่เขลา มีนิสัยดุร้าย ขี้โกง " ขอให้ท่านจงอย่าคิดเคืองโกรธไม่ว่าจะในที่ใด ๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีที่อาตมาจะให้ ” “ อะไรกันท่านฤาษี นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านจะให้ผมหน่ะ ” “ ใช่แล้วล่ะโยม ” “ ไม่ได้ ข้าไม่ยอม เอาของดีของท่านเก็บไว้ใช้กับตัวเถิด ค่าจ้างของข้า ต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว เอาเงินมาให้ข้า ข้าต้องการเงินเท่านั้น ” ว่าแล้วคนแจวเรือก็ได้ทำการตบตี ทำร้ายฤาษีในทันที
อปัณณกธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด
นครสาวัตถี เนื่องด้วยอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ล้วนเป็นคนกลับกลอก พอฟังธรรมก็เกิดศรัทธาประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่พอพระพุทธศาสดาเสด็จจากไป ก็หันกลับไปนับถือลัทธิเดิมกันทั้งหมดสิ้น