มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ - กรณียกิจ
กรณียกิจที่สำคัญสำหรับการเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นงานที่มีแต่คุณอย่างเดียว ไม่มีโทษแม้แต่น้อย เมื่อเราเข้าถึงแล้ว ชีวิตของเราก็จะสมบูรณ์ แต่หากยังเข้าไม่ถึง ชีวิตก็ไม่ต่างไปจากนกกา ที่ตื่นแต่เช้าออกไปทำมาหากิน กลับมานอนหลับพักผ่อน วนเวียนกันไปเช่นนี้ จนกระทั่งแก่ชรา และตายไปในที่สุด เช่นนี้เรียกว่า เกิดมาตายฟรี ชีวิตไม่มีสาระ
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๖ )
พระราชาสดับเช่นนั้น ทรงปฏิเสธทันทีว่า "ลูก เอาทรัพย์ไปใช้เช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์เลย เลิกให้ทานเถิดลูก ลูกควรจะนำทรัพย์ที่พ่อจะให้นี้ ไปใช้จ่ายเที่ยวเล่นสนุกสนานให้เต็มที่ ไม่ต้องไปคิดถึงใคร และภพชาติต่อไปก็อย่าไปกังวล ลูกจงเก็บเกี่ยวความสุขในชาตินี้ให้เต็มที่เถิด"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๓ )
"ระหว่างพระพุทธเจ้ากับท่านอุรุเวลกัสสปะ ใครหนอจะมีอานุภาพมากกว่ากัน" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล่วงรู้ความคิดของชาวเมือง จึงตรัสถามท่านว่า "ดูก่อนกัสสปะ ท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอน หมู่ชฎิลผู้ผ่ายผอมเพราะกำลังประพฤติพรต ท่านเห็นอะไรจึงได้ ละไฟที่เคยบูชาเสียเล่า ท่านเห็นประโยชน์อะไรจึงมาประพฤติพรหมจรรย์กับเรา"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ผู้เป็นแสงสว่างของโลก
"น่าอัศจรรย์จริงหนอ ฆฏิการะผู้เป็นเพียงช่างปั้นหม้อ กล้ามาดึงมวยผมเราผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของพระพรหม ตามปกติเพื่อนของเราไม่เคยทำอย่างนี้ มีแต่ความปรารถนาดีต่อเรามาตลอด ไม่เคยชักชวนไปในทางที่ผิดเลย การไปพบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คงจะเป็นการดีเป็นแน่"
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - บุญหาช่องคอยส่งผล
็เพื่อทำให้ทุกท่านได้เชื่อมั่นและมีกำลังใจในเรื่องการสร้างบารมี เพื่อให้มั่นใจว่า สิ่งที่ดีงามเหล่านี้ บัณฑิตนักปราชญ์ในกาลก่อนล้วนทำมาแล้ว และได้รับผลของการกระทำนั้นอย่างเกินควรเกินคาด ดังนั้นเราทุกคนควรดำเนินตามรอยท่านผู้มีบุญในกาลก่อน ดังเช่นพระเถระรูปนี้
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - สุราเป็นเหตุ
วันหนึ่ง ประชาชนเข้ามาขอร้องนายอำเภอว่า ข้าแต่นาย ในงานมหรสพประจำปี ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ ทุกๆ ปีตั้งแต่โบราณกาล ชาวบ้านต่างพากันดื่มสุราเลี้ยงฉลองกันใหญ่โตเป็นที่สนุกสนาน เวลาอื่นท่านห้ามขายสุรา พวกเราก็ไม่ว่า แต่พรุ่งนี้เป็นงานประจำปี ซึ่งทำกันเป็นประเพณีมานาน เพราะฉะนั้น ขอท่านนายอำเภอ จงอนุญาตให้ซื้อขาย และดื่มสุรากันสักวันหนึ่งเถิด
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (๒)
ทุกชีวิตล้วนมีการแสวงหา บ้างแสวงหาปัจจัยสี่เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต บ้างแสวงหาทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ ซึ่งเป็นโลกียทรัพย์ภายนอก แต่จะมีใคร
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (2)
ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงามที่พระอริยะสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญาเมื่อนึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ และความเห็นธรรมเนืองๆ เถิด
กระแสแห่งกรรม (๒)
ภิกษุทั้งหลาย โลสกติสสะผู้นี้ ได้ประกอบกรรมคือ ความเป็นผู้มีลาภน้อย และความเป็นผู้ได้อริยธรรมของตนด้วยตนเอง เนื่องด้วยครั้งก่อนเธอกระทำอันตรายลาภของผู้อื่น จึงเป็นผู้มีลาภน้อย แต่เป็นผู้บรรลุอริยธรรมได้ด้วยผลที่บำเพ็ญวิปัสสนา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ณ ชนบทแคว้นโกศลมีหมู่บ้านชาวประมงประมาณ 1,000 ครอบครัว อาศัยอยู่ด้วยความผาสุกตลอดมา ครั้นต่อมาหญิงคนหนึ่งในหมู่บ้านได้ตั้งครรภ์ นับตั้งแต่นั้นมาทุกครอบครัวต่างก็ทำมาหากินฝืดเคืองลำบากมากขึ้นตามลำดับ