มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ธรรมะคุ้มครองโลก
ถ้าชาวโลกประพฤติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองโลก แค่ทุกคนรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ก็สามารถพลิกฟื้นสถานการณ์บ้านเมือง จากภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ให้กลับดีขึ้นอย่างอัศจรรย์ ยิ่งถ้าทุกคนปฏิบัติธรรม ทำใจให้หยุดนิ่งพร้อมๆ กันทั่วทั้งโลก ได้เข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน สันติสุขที่แท้จริงย่อมบังเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ธรรมะจึงเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะช่วยคุ้มครองโลกให้อยู่รอดปลอดภัย
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ให้ทานอย่างสัตบุรุษ
ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ผลนั้นจะอำนวยให้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมากและเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส คนรับใช้หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับรับคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ภรรยาสามีไม่นอกใจซึ่งกันและกัน ข้าทาสบริวารก็ไม่คดโกง ตั้งใจดูแลทรัพย์สมบัติของเจ้านาย เหมือนเป็นของของตนเอง
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อสทิสทาน
การให้ทานจะนำเราไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ เป็นบันไดไปสู่สวรรค์นิพพาน การทำบุญด้วยเจตนาบริสุทธิ์ หวังบุญบารมีเป็นที่ตั้งนั้น จะได้รับอานิสงส์อย่างที่เราคาดไม่ถึง ยิ่งทำถูกเนื้อนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะเป็น มหัคคตกุศล ไม่อาจที่จะนับคำนวนบุญที่เกิดขึ้นได้ ว่ามีประมาณเท่าใด การที่เรามีโอกาสทำบุญกับพระภิกษุสามเณร ๑๐๐,๐๐๐ รูป ในเวลาเดียวกันนี้ เป็นความอัศจรรย์ของโลก
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา(สามี) - คู่บุญคู่บารมี
สามีภรรยาจะต้องรู้จักความเป็น "ผู้ให้" ซึ่งกัน และกัน ตั้งแต่การให้ข้าวของเครื่องใช้ ให้คำพูดที่ไพเราะจริงใจ ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล รู้จักให้อภัย รวมถึงให้ความมั่นใจต่อกัน เพราะ "การให้" เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จะทำให้เป็นคู่บุญ คู่บารมี เป็นครอบครัวแก้วที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพาพ้นภัย (๑)
ตัวอย่างของการใช้ปัญญารักษาตัวรอด มีสติปัญญาสามารถนำพาตนให้รอดพ้นภัยพิบัติได้ ดังนั้นปัญญาจึงเป็นรัตนะของนรชนทั้งหลาย โดยเฉพาะปัญญาที่จะช่วยนำพาเรา ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในอบายภูมิ ให้ได้เวียนวนสร้างบารมีอยู่เฉพาะในสุคติภูมิอย่างเดียว
วันวิสาขบูชา ตอน วันประสูติ
ดวงจันทร์ในคืนวันเพ็ญปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวบนท้องฟ้า ด้วยกำลังแห่งรัศมี ฉันใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงอุบัติขึ้นย่อมรุ่งโรจน์กว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - สมบัติเคียงคู่ผู้มีบุญ
จะเห็นได้ว่า ใครมีบุญ สมบัติจะไปอยู่กับคนนั้น นายควาญช้างเป็นผู้สั่งสมบุญไว้ดีแล้วในกาลก่อน บุญนั้นจึงส่งผลให้เขาได้เป็นพระราชา เหมือนดังที่พระบรมศาสดาได้ตรัสพระคาถาในสิริชาดก ติกนิบาตว่า
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 3
การทำอธิมุตกาลกิริยา (อะ-ธิ-มุต-ตะ-กา-ละ-กิ-ริ-ยา) คือการอธิษฐานจิตดับชีพของตนลงมาเกิดสร้างบารมีในโลกมนุษย์นี้ จะทำได้ก็เฉพาะพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายที่สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิตเท่า นั้น
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 2
พระราชาสดับดังนั้น ทรงมีปีติเป็นยิ่งนัก จึงทรงดำริว่า ลูกเรามาเกิดเพื่อสืบต่อวงศ์ของเราโดยแท้ เปรียบเหมือนล้อรถที่หมุนตามกันมา ฉะนั้น เหตุนี้เองพระองค์จึงทรงขนานพระนามของพระราชโอรสว่า เนมิราชกุมาร ซึ่งแปลว่า กุมารผู้เป็นเหมือนล้อรถ ที่หมุนเวียนมาเพื่อตามรักษาประเพณีอันดีงามของวงศ์ตระกูลให้สืบต่อไป
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - คบบัณฑิตพิชิตปัญหา
ในเวลาเย็น ทั้ง ๔ ท่าน ต่างออกจากที่พักของตน และได้พบกันโดยบังเอิญ ด้วยบุญเก่าที่เคยเกิดเป็นเพื่อนกันมาก่อน ทำให้รู้สึกรักใคร่ชอบใจกันเป็นพิเศษ จึงพูดคุยสนทนากันอย่างถูกคอ ทั้ง ๔ ท่านได้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า การสมาทานอุโบสถศีลของพวกเรา ใครจะเป็นผู้มีศีลมากกว่ากัน ต่างฝ่ายต่างก็คิดว่า ตนมีศีลมากกว่าคนอื่น