มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - บุญคุณต้องทดแทน
พระกุมารคิดว่า ถ้าเราได้เป็นกษัตริย์แล้ว จะฆ่าพระฤๅษีองค์นี้ให้ได้ จึง กล่าวว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อกระผมได้ครองราชสมบัติแล้ว ขอให้ท่านไปหากระผม กระผมจะบำรุงอุปัฏฐากรับใช้ท่านอย่างไม่ให้ขาดตกบกพร่องเลย แล้วก็ลากลับเมือง เมื่อพระกุมารกลับเข้าพระนครไม่นาน ก็ทรง ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ลูกน้อยโพธิ์สัตว์
มีครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายคนเดียวชื่อ สวิฏฐกะ ได้บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดี เมื่อมารดาละจากโลกนี้ไป เขาก็ปรนนิบัติดูแลบิดาด้วยดีเสมอมา บิดาสงสารเขา อยากจะหาคนมาช่วยทำงานบ้าน จึงให้เขาแต่งงานกับหญิงคนหนึ่ง
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ - รู้จักพอ ก่อให้เกิดสุข
การเปลี่ยนแปลง คือ การแสวงหา นั่นคือ สัญญาณบอกให้เรารู้ว่า เรายังไม่พบของที่ดีจริง จึงเบื่อหน่ายเร็ว หายเห่อเร็ว เมื่อเบื่อก็เปลี่ยนแปลง แสวงหากันต่อๆ ไปอย่างนั้น การแสวงหาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้แหละ ที่เรียกว่าไม่สันโดษ
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ - ขาดความเคารพ พบความพินาศ
วันหนึ่ง ลูกสาวของช่างทอหูกออกจากบ้านไปเก็บดอกบัวที่สระน้ำ เก็บดอกบัวไปพลาง ร้องเพลงไปพลาง สามเณรเหาะไปใกล้บริเวณสระบัวแห่งนั้น เกิดติดใจเสียงขับร้องของนาง กามราคะที่ข่มไว้ด้วยอำนาจฌานสมาบัติก็ฟูขึ้นท่วมทับจิตใจ ทันใดนั้นเอง ฤทธิ์ของสามเณรก็เสื่อม ไม่อาจเหาะได้ ดุจกาปีกหัก
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ผลของการให้ด้วยความเคารพ
อุตตรมาณพ ผู้เป็นบ่าวของกระผม ทำทานด้วยความเคารพ ให้ด้วยมือของตนเอง ด้วยกิริยานอบน้อม เขาจึงมีวิมานสว่างไสวในดาวดึงส์ ส่วนกระผมเองผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ อุตส่าห์สละทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก แต่เหตุใดกลับมาบังเกิดเพียงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา อีกทั้งมีรัศมีและอานุภาพน้อยกว่าอุตตรมาณพอีกด้วย
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา - แทนคุณอันสุดซึ้ง ต้องให้เข้าถึงธรรม
นักปราชญ์ได้กล่าวถึงพระคุณของพ่อแม่ว่า มีมากเกินกว่าที่จะพรรณนาให้หมดสิ้นได้ และเป็นการยากที่จะทดแทนพระคุณของท่านได้หมด เพราะนอกจากจะกตัญญูรู้คุณ และตอบแทนพระคุณแล้ว เรายังต้องประกาศคุณความดีของท่าน ด้วยการทำตนให้เป็นคนดี หมั่นประพฤติปฏิบัติธรรม ให้กาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ดังเช่นการตอบแทนพระีุคุณโยมแม่ของพระสารีบุตร
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา - พระในบ้าน
ข้าพเจ้าจักเพลิดเพลิน และปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตรเหล่านั้นถูกภรรยา ยุยง รุกรานข้าพเจ้าเหมือนสุนัขรุกรานสุกร ฉะนั้น บุตรเหล่านั้น เป็นอสัตบุรุษ แต่มาเรียกข้าพเจ้าว่า พ่อ
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - สั่งสมปัญญาบารมี
ความรู้ในพระไตรปิฎกนั้น ยิ่งศึกษายิ่งแตกฉาน ทำให้เราเข้าใจและรู้หนทางไปสู่อายตนนิพพานเพิ่มมากขึ้น เสมือนได้นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระบรมศาสดา กาย วาจา ใจ ของเราจะบริสุทธิ์เกลี้ยงเกลาตามพระองค์ไปด้วย ในตอนนี้จะได้อธิบายเกี่ยวกับหมวดพุทธวจนะ ในพระไตรปิฎก
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ไม่มีความเห็นผิด ชีวิตปลอดภัย
ปัจจุบันนี้ เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ยุคที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า โลกาภิวัตน์ แม้จะอยู่ไกลกันคนละซีกโลก ก็สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารภายในเวลาไม่กี่นาที แต่ในความเป็นจริงแล้วเรายังตกอยู่ในกระแสโลกที่เรียกว่า โลกานุวัตร หมายความว่า เป็นไปตามโลก เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรระวังจากการรับฟังข่าวสาร คือ เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องใดแล้ว ควรใช้โยนิโสมนสิการ คือ พิจารณา ให้ละเอียดรอบคอบ ใช้สติและปัญญาพิจารณาเหตุผล
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๕ )
พระพี่เลี้ยงได้ยินข่าวลือว่า "พระราชาทรงฟังถ้อยคำของอาชีวกผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงรับสั่งให้รื้อโรงทานที่ประตูเมืองทั้งสี่ บัดนี้ทรงมัวเมาแต่เบญจกามคุณ มิได้สนพระทัยในพระราชกรณียกิจเลย"