ธุดงค์ธรรมชัยกับการปฏิบัติธุดงควัตร
ธุดงควัตร เป็นพุทธประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เนื่องจาก ธุดงค์ คือ บทฝึกตนในการ กำจัดกิเลสทางพระพุทธศาสนาแบบเฉียบพลัน ที่เรียกว่า ธุตังคะ มีทั้งหมด 13 ข้อ โดยผู้ปฏิบัติจะได้ฝึกความ อดทน และใช้ความเพียรสูง กว่าปกติ ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติให้การถือธุดงค์เป็นข้อบังคับ คือ ใครจะถือก็ได้ หรือไม่ถือก็ได้ แต่พระองค์ทรงอนุญาตให้ทำได้ เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้ บรรลุธรรมง่ายขึ้น
พระมหากัสสปเถระ (๑)
ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 2
เอกาสะนิกังคะ คือ ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตรหรือที่เรียกกันว่า ฉันเอกา หมายถึง การฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้นโดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์หรืออย่างเข้มงวด จะรับภัตตาหารเฉพาะในช่วงก่อนที่จะลงมือฉันเท่านั้น