พิธีมุทิตาสักการะเปรียญธรรมประโยค 9, 6, 3 และบาลีศึกษา 9, 6 สำนักเรียนวัดพระธรรมกาย
พุทธศาสนิกชน แสดงความยินดี จัดมุทิตาสักการะเปรียญธรรมประโยค 9,6,3 และบาลีศึกษา 9,6 สำนักเรียนวัดพระธรรมกาย
อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม
ย้อนไปนานนับพันปี บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา มีพื้นที่ครอบคลุมหลายจังหวัด อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ตลอดจนเขตสิบสองปันนาของจีนและบางส่วนของพม่าและลาว ผู้คนในถิ่นนี้มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง อักษรที่นิยมใช้เขียนวรรณคดีทางโลก คือ อักษรฝักขาม ส่วนอักษรที่นิยมใช้บันทึกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ อักษรธรรม จึงเรียกอักษรธรรมที่ใช้ในอาณาจักรล้านนาว่า “อักษรธรรมล้านนา”
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๒)
ผู้เขียนและคณะได้เรียบเรียงบทความที่สรุปโดยย่อ “เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นจนถึงฉบับนี้ ยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นับเป็นเวลา ๑ ปีพอดีที่ได้นำเสนอสู่สายตาของเหล่าสมาชิกผู้ใจบุญทุกท่าน และเชื่อว่าคงเกิดภาพและความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งผู้เขียนและคณะต่างปลื้มปีติที่ได้ประมวลเรื่องราวดี ๆ นี้ แล้วนำเสนอแด่ทุกท่านเป็นธรรมทาน
บุญบาปที่ปลายนิ้ว
ผลกระทบจากการกด like กด share ที่มีเนื้อหาไม่ดี บาปหรือไม้? ควรปฏิบัติตัวอย่างไร? และมาเรียนรู้ พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550
ความเป็นมาและอานุภาพเส้นเกศาหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
ย้อนไปในปี พ.ศ.2535 ช่วงที่ผมประสานงานรวบรวมที่ดินในอำเภอสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผมก็ได้แวะไปหา ปู่ผง มีแก้วน้อยซึ่งเป็น 1 ในทีมอุปัฏฐากที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกับหลวงปู่ฯ ครับ
รองรับพระธรรม น้อมนำถวาย
พระไตรปิฎกบาลีหรือพระบาลีเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยุคแรกคำสอนของพระองค์เรียกโดยรวมว่าพระธรรมวินัย ต่อมาในภายหลังจึงแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ หมวด คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
หลักฐานธรรมกาย ในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๗)
เดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ ผู้เขียนได้รับเชิญจากเจ้าภาพ คือ ประธานพุทธสมาคมจีนให้เข้าร่วมประชุม World Buddhist Forum ครั้งที่ ๔ ที่เมือง Wu Xi ซึ่งมีผู้แทนองค์กรชาวพุทธถึง ๕๒ ประเทศเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่พุทธบริษัทจะมารวมเป็นหนึ่งเดียว ในช่วงนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้เขียนจะเดินทางไปเมืองซีอานอีกครั้งหนึ่ง
โครงการอุปสมบทหมู่ บูชาธรรม 107 ปี คุณยายอาจารย์ฯ
โครงการอุปสมบทหมู่ บูชาธรรม ๑๐๗ ปี คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง ครูผู้สืบสานวิชชาธรรมกาย อบรมระหว่างวันที่ 9 มกราคม ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๖)
ผู้เขียนและคณะนักวิจัยของสถาบันดีรี (DIRI) เพิ่งเดินทางกลับจากประเทศนอร์เวย์และสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากการลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งที่มหาวิทยาลัยออสโลและมหาวิทยาลัยวอชิงตันซึ่งทั้งสองสถาบันเป็นแหล่งที่มี ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) ของคัมภีร์พุทธโบราณอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี เป็นจำนวนมาก ที่ค้นพบในเขตคันธาระและแถบเอเชียกลาง ดังนั้นในฉบับนี้จึงขอนำเสนอเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตคันธาระและแถบเอเชียกลาง
ศึกษาหลักฐานพุทธศิลป์...ย้อนแดนดินถิ่นอารยธรรม
ณ ริมฝั่งแม่น้ำภีมะ ห่างจากหมู่บ้าน Sannati ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๓ กิโลเมตร ในเขตรัฐกรณาฏกะ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย องค์การสำรวจโบราณคดีอินเดีย หรือ ASI (Archaeological Survey of India) ได้ขุดค้นพบแหล่งโบราณคดีกนคนหลฺลิ (Kanaganahalli) ที่เชื่อว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาสมัยราชวงศ์ศาตวาหนะ....