วัดพระธรรมกายนิวคาลเซิล จัดงานบุญวันวิสาขบูชา
วัดพระธรรมกายนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ จัดงานบุญวันวิสาขบูชาประจำปีพุทธศักราช 2565
วันวิสาขบูชามีความสําคัญอย่างไร
วันวิสาขบูชามีความสําคัญ คือ เป็นวันเพ็ญเดือนหก ซึ่งตรงกับวันประสูติ ตรัสรูิ และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือนเดียวกันทั้ง 3 วาระ และได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก
สรรเสริญพุทธคุณ บุญส่งถึงนิพพาน
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่งของบุคคลผู้ว่ายอยู่ในห้วงน้ำ เป็นนาถะของผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์ เป็นสรณะของผู้ที่ยังมีภัย และเป็นผู้นำของผู้ต้องการความหลุดพ้น”
อานิสงส์บูชาสิ่งแทนพระพุทธองค์
“ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นสถานที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ.....
อานิสงส์การจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา
การบูชา คือ การแสดงออกในลักษณะของความเลื่อมใสศรัทธา มีการยกย่องเชิดชูทั้งทางกาย วาจา และใจ ด้วยความนอบน้อมทั้งต่อหน้าและลับหลัง การแสดงต่อหน้าเป็นการแสดงออกถึงความเคารพและตระหนักในคุณธรรมความดีของบุคคลที่เราบูชา อย่างจริงใจ
พรรณนาพุทธคุณหนุนส่งถึงนิพพาน
เรากล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า ว่ามีทั้งส่วนพระองค์ และที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น จึงเป็นผู้ประกอบด้วยปีติในพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้มีความงดงาม เมื่อเรากล่าวสรรเสริญพระคุณ ชื่อว่าชมเชยพระผู้นำ ผู้ทรงชนะมาร ล่วงเสียซึ่งเดียรถีย์ ครอบงำเดียรถีย์ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้มีความรุ่งเรือง เมื่อเรากล่าวสรรเสริญพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าทำพระองค์ให้เป็นที่รักของหมู่ชน เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้น่ารักน่าชื่นชม เหมือนพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ฉะนั้น
กุสโลบายในการเข้าถึงพระรัตนตรัย
ชนเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสในพระตถาคต ครั้นทำกาละแล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ศูนย์ฝึกอบรมพุทธบุตรนานาชาติจัดพิธีอัญเชิญองค์พระประธาน
คณะกัลยาณมิตรวัดพระธรรมกายและพุทธศาสนิชนชาวพม่า ร่วมพิธีอัญเชิญองค์พระประธาน เพื่อประดิษฐาน ณ ศูนย์ฝีกอบรมพุทธบุตรนานาชาติ จังหวัดปราจีนบุรี
รัตนชาติและพระรัตนตรัย
ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้น คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใดก็ฉันนั้น ดูก่อนปหาราทะ ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิดเหมือนกัน รัตนะในธรรมวินัย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิดนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็นแล้ว จึงอภิรมย์ยินดียิ่งในศาสนานี้อยู่
น้อมใจไว้ในพุทธองค์
เราได้เป็นพระราชาสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในแว่นแคว้น ยินดียิ่งในกรรมของตน นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๘๐ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มียศอนันต์ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ก็ด้วยอานุภาพแห่งพุทธบูชานั้น