อานิสงส์ถวายเสา ๕ ต้น ร่วมสร้างโรงฉัน
สัตบุรุษย่อมให้ทาน คือ ข้าวและน้ำที่สะอาด ประณีตตามกาล สมควร เนืองนิตย์ ในผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี บริจาคของมากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย ท่านผู้มีปัญญาเห็นแจ้งย่อมสรรเสริญทานที่สัตบุรุษให้แล้วอย่างนี้ เมธาวีบัณฑิตผู้มีศรัทธา มีใจอันสละแล้ว บริจาค ทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียนเป็นสุข
อปัณณกธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันความผิดพลาด
นครสาวัตถี เนื่องด้วยอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ล้วนเป็นคนกลับกลอก พอฟังธรรมก็เกิดศรัทธาประกาศตนเป็นพุทธมามกะ แต่พอพระพุทธศาสดาเสด็จจากไป ก็หันกลับไปนับถือลัทธิเดิมกันทั้งหมดสิ้น
จุลลกเศรษฐี-ชาดกว่าด้วยความฉลาดในการสร้างฐานะ
ในสมัยพุทธกาลขณะที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอดส่องพระพุทธญาณ ณ วัดชีวกัมพวัณ กรุงราชคฤห์เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ผู้ตกทุกข์ดังที่ทรงบำเพ็ญอยู่เป็นนิจ พลันสายพระเนตรทรงเห็นภิกษุหนุ่มจุลลปัณฐกะที่ท้อถอยสิ้นความเพียร เนื่องด้วยมีสติปัญญาทึบ
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - รักษาใจให้เข้าถึงธรรม
ตั้งแต่บวชมา อาตมามีความสุขในเพศสมณะตลอดทั้งวันทั้งคืน จิตใจโปร่งโล่งเบาสบาย ไม่มีความกังวลใดๆเลย และทำความเพียรตลอดเจ็ดวัน พอถึงวันที่แปดจึงได้สำเร็จกิจอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยยินดีในลาภสักการะสรรเสริญ ไม่เคยมีอาพาธเลยแม้แต่น้อย จึงไม่ต้องแสวงหายามารักษาสรีรยนต์นี้
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - หนทางสู่ความรุ่งโรจน์
ความเคารพกับความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความแตกต่างกัน ความเคารพเป็นการปรารภผู้อื่น ตระหนักในคุณงามความดีของผู้อื่น พบใครก็คอยมองหาข้อดีของเขา ไม่ไปจับผิด สามารถ ประเมินคุณค่าของผู้อื่นได้ตามความเป็นจริง และแสดงอาการเคารพนับถือด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ส่วนความอ่อนน้อมถ่อมตน
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ไม่ประมาทในธรรม
พระบรมศาสดาของเราทรงย้ำเตือนให้พุทธบริษัทไม่ประมาทในชีวิต ให้เร่งรีบสั่งสมบุญบารมี และฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง จะได้หลุดพ้นจากอาสวกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทรมาน *เหมือนในสมัยหนึ่ง มีภิกษุบวชใหม่จำนวน ๕๐๐ รูป เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพระบวชใหม่ จึงมีจิตใจฟุ้งซ่าน เพราะอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - สัตว์ร้าย รักษาอุโบสถ
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยว หาอาหาร เห็นช้างตายอยู่ข้างทาง มันดีใจคิดว่า เป็นลาภลอยชิ้นใหญ่ของเราแล้ว จึงตรงเข้าไปกัดที่งวง แต่กัดไม่เข้า จึงเปลี่ยนไปแทะที่งา ก็รู้สึกเหมือนกับแทะแผ่นหิน กัดที่หาง ก็รู้สึกเหมือนกัดสากตำข้าว ครั้นกัดช่องทวารหนักก็รู้สึกว่า ได้กินเนื้อนุ่มๆ จึงเกิดติดใจมุดเข้าไปอยู่ข้างในท้องช้าง แล้วกัดกินเครื่องในอย่างเอร็ดอร่อย
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - รอดชีวิตเพราะพหูสูต
เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ปุโรหิต ชื่อว่า เสนกบัณฑิต ผู้มีปัญญามาก ในตอนนี้ท่านได้ช่วยพราหมณ์ชราให้พ้นภัยจากงูร้ายที่เข้าไปอยู่นอนกินข้าวสตุก้อน ข้าวสตุผง อยู่ในไถ้ของพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันชาญฉลาด เหตุการณ์ทั้งหมดจะเป็นอย่างไรนั้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๔ )
ฝ่ายมหาทุคตะกลับจากวิหารเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น บังเกิดมหาปีติ ขนลุกไปทั่วสรรพางค์ ปลื้มใจว่า ฝนรัตนะ ๗ ประการ ตกเพราะพุทธานุภาพอันไม่มีประมาณ รวมทั้งบุญญานุภาพที่ตัวได้ทำในวันนี้ จากนั้นเขารีบไปยังราชสำนัก พลางกราบทูลพระราชาว่า "บ้านของข้าพระองค์เต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ ขอพระองค์ทรงให้ราชบุรุษนำเกวียนไปขนทรัพย์นั้นมาเถิด พระเจ้าข้า"
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๖ ( ผู้ผดุงความยุติธรรม )
หนุ่มชาวนาตื่นขึ้นมาไม่เจอโคของตน ก็รีบวิ่งออกติดตามรอยเท้าโคไป เมื่อตามไปพบก็ร้องบอกโจรให้นำโคคืนมา ตนจะไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร แต่เหตุการณ์กลับตรงข้าม เพราะโจรอ้างว่าโคนี้เป็นของเขา เมื่อไม่ยอมกันทั้งสองเกิดการทะเลาะวิวาท ชาวบ้านจึงพามาหามโหสถให้ช่วยตัดสินว่า ใครเป็นเจ้าของโคตัวนี้กันแน่