ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น
มุณิกชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอายุยืน
มุณิกชาดก เป็นเรื่องของหมูมุณิกะ ซึ่งถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารดีเลิศและได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี และทำให้โคจุฬโลหิตเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในชะตาของมันซึ่งต่างจากหมู แต่ถ้ามันรู้ความจริงว่าหมูมุณิกะถูกเลี้ยงไว้เพื่อฆ่า...มันจะทำอย่างไร มันจะช่วยหมูมุณิกะหรือไม่
พัพพุชาดก-ตอนที่ 2-ชาดกว่าด้วยวิธีให้แมวตาย
ย้อนไปในอดีตกาลในยุคสมัยที่พระเจ้าพรหมทัตเสวยพระราชสมบัติปกครองแคว้นพาราณสีอยู่นั้น พระโพธิสัตว์ในยุคนั้นได้บังเกิดเป็นช่างสลักหิน ในเวลานั้นช่างสลักหินผู้นี้ได้เติบโตเจริญวัยเป็นหนุ่มศึกษาวิชาศิลปะจนสำเร็จ
สัตติคุมพะชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องการคบหาคนพาล
สารัตถะแห่งพระพุทธศาสนาข้อสำคัญที่ประจักษ์แจ้งทั่วกันอย่างหนึ่งก็คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยงไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง ในแผ่นดินมคธซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปักธงชัยประกาศศาสนาไว้ ก็ไม่พ้นจากความจริงจากข้อนี้ได้ เมื่อสิ้นอำนาจพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำปิตุฆาตขึ้นครองมคธตามคำยุยงของพระเทวทัต
อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู
พุทธกาลสมัยหนึ่งครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกทั้งหลายกลับจากกรุงราชคฤห์ แผ่นดินมคธมาสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ นครสาวัตถี ในโกศลรัฐนั้น สิ่งร้าวรานที่เกิดจาก เทวทัตเถระ กระทำย่ำยีต่อพระพุทธศาสนาในการแบ่งแยกหมู่สงฆ์และสะพิงบัญญัติใหม่แปลกไปจากพุทธวินัยในแคว้นมคธก็กลายเป็นข้อวิภาคเจ็บร้อนขึ้นในธรรมสภา
มหาอุกกุสชาดก ชาดกว่าด้วยการผูกมิตร
บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้ว ป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ ฉะนั้น
มาลุตชาดกว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่
มาลุตชาดก ขึ้นชื่อว่า ทิฐิมานะ นั้นถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้วก็ยากที่จะแก้ไขได้ตราบเท่าที่ยังหลงยึดมั่นแต่ความคิดเห็นของตัวเป็นหลัก ดังตัวอย่างใน มาลุตชาดก ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
สาธุศีลชาดก ชาดกว่าด้วยตำราเลือกลูกเขย
เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักศิลา ได้มีพราหมณ์เฒ่าผู้หนึ่ง มีลูกสาวที่งามพร้อมทั้งกาย วาจาและใจจนเป็นที่หมายปองของหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่สี่คนด้วยกัน
กาญจนักขันธชาดก ชาดกว่าด้วยธรรมะมีค่าดั่งทองคำ
ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี มีชายชาวนาผู้ขยันคนหนึ่ง ได้จับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพื่อถากถางเป็นที่นาของตน ซึ่งที่ดินแห่งนี้เมื่อในอดีต เคยเป็นที่ตั้งบ้านของเศรษฐีผู้มาก่อน วันหนึ่งขณะที่กำลังไถนาอยู่นั้น ผานไถ ( เหล็กสำหรับสวมหัวหมูเครื่องไถ) ก็ไปสะดุดติดอยู่กับของแข็งๆ ท่อนหนึ่งในดิน เขาจึงเอามือขุดคุ้ยก้อนดินดู ปรากฎเป็นแท่งทองคำขนาดใหญ่ฝังอยู่ในดิน
มตกภัตตชาดก ชาดกว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
“เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้ สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาต ไม่ควรฆ่าสัตว์ด้วยเหตุผลดังนี้”