ชัยชนะครั้งที่ 8 (ตอนที่ 2 ชนะพกพรหม)
เพราะว่า สังสารวัฏกำหนดที่สุดของเบื้องต้นท่ามกลางและเบื้องปลายไม่ได้ ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวที่เธอจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด เพื่อให้พ้นทุกข์
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ความโศกสิ้นสุด เมื่อจิตหลุดพ้น
เมื่อลูกชายเติบโตวิ่งเล่นได้ พลันเกิดเหตุพลิกผันวิถีชีวิตของนางโดยสิ้นเชิง ลูกชายของนางเกิดล้มป่วยลง และตายจากไปอย่างปัจจุบันทันด่วน ทำให้นางเกิดความโศกเศร้าเสียใจ อาลัยอาวรณ์ต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก จนไม่เป็นอันกินอันนอน นางไม่สามารถควบคุมสติของตนได้ กลายเป็นคนเสียสติในทันที
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - หมดโศก เพราะหมดอาลัย
ชีวิตในสังสารวัฏนี้ เต็มไปด้วยทุกข์ จับต้นชนปลายไม่ถูก สังสารวัฏนี้กำหนดเบื้องต้น ท่ามกลางและเบื้องปลายไม่ได้ หมู่สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปมาในสังสารวัฏนี้ ได้เสวยความทุกข์โทมนัสมายาวนาน ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าสูงขึ้น ใหญ่โตกว่าภูเขาที่ตั้งตระหง่านเทียมฟ้า
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ความทุกข์ในการครองเรือน
อยู่มาวันหนึ่ง เศรษฐีกรุงพาราณสีได้เกิดความคิดอย่างนี้ขึ้น ด้วยความรักและความคุ้นเคยในพระโพธิสัตว์ว่า "ชื่อว่าการบวชเป็นทุกข์ เรายังปริพาชกชื่อว่า วัจฉนขะ ผู้เป็นสหายของเราให้สึก แล้วแบ่งสมบัติทั้งหมดให้แก่ปริพาชกไปครึ่งหนึ่ง เราทั้งสองก็จักอยู่ด้วยความปรองดองกัน"
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๕)
เราจะเห็นได้ว่า กว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายที่จะมีวันนี้ได้ ต่างมีเบื้องหลังแห่งความสำเร็จ คือ การสั่งสมบุญบารมีมาอย่างเต็มที่ เต็มกำลังทั้งนั้น แต่ละท่านล้วนมีประวัติการสร้างบารมีที่งดงาม ไม่ใช่ว่า ปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่ได้ลงมือทำความดีใดๆ อย่างนี้ไม่สมหวังแน่นอน
วันวิสาขบูชา วันพระพุทธเจ้า
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ให้บ่อยๆ รวยบ่อยๆ
ยาจกยังต้องขอบ่อยๆ ถ้าไม่ขอก็อด คำว่ายาจกคือคนขอทาน จะแตกต่างจากคำว่า สมณะ ซึ่งเป็นการขอแบบอริยะ ที่เป็นเนื้อนาบุญแก่ผู้ให้ทาน บุคคลสองประเภทนี้มีข้อวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน คุณธรรมก็ต่างกันเหมือน ก้อนกรวดเทียบกับภูเขา พวกยาจกจะขอด้วยการแสดงอาการอัน น่าสงสาร
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา - พญาช้างโพธิสัตว์
ความมืดมิดที่ปกคลุมดวงจิตของคนอกตัญญู มืดยิ่งกว่ากลางคืนที่ไร้แสงจันทร์ เพราะ ยามราตรีแม้ไม่มีแสงจันทร์ ก็ยังมีแสงจากดวงดาว แสงหิ่งห้อย แต่ถ้าเป็นคนอกตัญญูจิตใจมืดบอดแล้ว แม้แสงสว่างแห่งความดีทั้งหลายก็ไม่อาจส่องเข้าไปในจิตใจเขาได้ เขาจะมองไม่เห็นคุณความดีของใครเลย เหมือนเรื่องของนายพรานใจบาป
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - วจีกรรมนำสู่นิพพาน
เราเป็นผู้มีปกติกล่าวสรรเสริญพระชินวรเจ้าทุกเมื่อ เพราะ กรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีร่างกายและกลิ่นปากหอม เพียบพร้อมด้วยความสุขมีปัญญากล้า มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาไว มีปัญญามากและมีปฏิภาณอันวิจิตร
มงคลที่ ๙ มีวินัย - อานิสงส์แห่งศีล
พระปัญจสีลสมาทานิยเถระ เกิดเป็นคนยากไร้ ต้องทำงานรับจ้างอยู่ในนครจันทวดี แต่ท่านเป็นคนมีปัญญา สามารถสอนตนเองได้และรู้ถึงโทษภัยในสังสารวัฏ จึงปรารถนาอยากบวช แต่ก็ยังหาโอกาสไม่ได้ จึงคิดว่า เพราะเราเป็นคนยากไร้ ต้องทำงานรับจ้างเลี้ยงชีวิตไปวันหนึ่งๆ ไทยธรรมของเราที่จะมาทำทานก็ไม่มี จึงไม่สามารถให้ทานได้ อย่างไรก็ตาม ในภพชาตินี้อย่างน้อยเราก็ยังสามารถรักษาศีล ๕ ให้บริบูรณ์ได้