อนภิรติชาดก ชาดกว่าด้วยจิตขุ่นมัว ไม่ขุ่นมัว
ความสำเร็จในมรรคผล การบรรลุญาณสมาบัติของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนั้น เกี่ยวข้องด้วยความสมถะสันโดษหลุดพ้นจากกิเลสอันอยากได้อยากมีเป็นอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติภาวนา แม้สำเร็จญาณระดับใดแล้วก็ตาม แต่หากรับเอาอาสวะกิเลสเข้าจิตใจ แม้น้อยนิด ญาณวิเศษที่พากเพียรมา ก็จักเสื่อมลงถดถอยลงสิ้น
นังคลีสชาดก ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว
“ มานพนี้ เมื่อกล่าวว่างูเหมือนงอนไถ่ ก็กล่าวถูกต้องก่อนแล้ว แม้กล่าวว่าช้างเองก็เหมือนงอนไถ ก็คงพอจะกล่าวได้ด้วยเล่ห์ที่หมายเอางวงช้าง แม้กล่าวว่าอ้อยเหมือนงอนไถ่ก็ยังพอเข้าท่า แต่นมส้มนมสด ขาวอยู่เป็นนิจ ทรงตัวอยู่ได้ด้วยภาชนะ ไม่น่าจะกล่าวอุปมาในข้อนี้ได้โดยประการทั้งปวงเลย เราไม่อาจให้คนเลื่อนเปื้อนผู้นี้ศึกษาได้อีกเสียแล้ว ”
อัมพชาดก ชาดกว่าด้วยบัณฑิตควรพยายามร่ำไป
ในฤดูแล้งที่ยาวนาน แหล่งน้ำดื่มกินเหือดแห้ง ดาบสหนุ่มได้ทำรางไม้และตักน้ำมาเติมจนเต็มเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายดื่มกิน จนตัวท่านเองเหนื่อยล้าไร้เรี่ยวแรง สัตว์ทั้งหลายเห็นความลำบากของท่าน จึงพร้อมใจกันนำผลไม้จากป่าเอามาให้ดาบสในทุกๆ วัน
สีหจัมมชาดก ชาดกว่าด้วยลาห่มหนังสิงโต
พ่อค้าเจ้าเล่ห์เอาหนังสิงโตที่ตัวเองเก็บไว้ขายให้คหบดีอีกเมืองหนึ่งมาคลุมตัวลาของตน แล้วนำลาไปปล่อยไว้ในนาข้าวสาลีของชาวบ้าน ส่วนตนก็เดินทางไปขายของตามปกติ
มณิกัณฐชาดก ชาดกว่าด้วยขอสิ่งที่ไม่ควรขอ
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการขอไม่เป็นที่ชอบใจ แม้ของพวกนาคที่อยู่ในนาคพิภพอันสมบูรณ์ด้วยรัตนทั้ง ๗ ประการ จะป่วยกล่าวไปใยถึงมนุษย์ทั้งหลายเล่า ”
อนุสาสิกชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องดีแต่พูด
ในนครสาวัตถี ยังมีภิกษุณีผู้ชอบพร่ำสอนอยู่รูปหนึ่ง มีนิสัยชอบสั่งสอนและมักห้ามภิกษุณีรูปอื่น ๆ มิให้เข้าไปในที่หวงห้าม แต่ตนเองก็มิได้กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี กลับละเมิดเข้าไปในที่หวงห้ามเสียเอง
ฉัททันตชาดก ชาดกว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์
“ พรานเอ๋ย นางผู้นั้น ละวางพยาบาทได้ก็ด้วยชีวิตเรา จงเลื่อยเอางาของเราไปเถิด ” การสิ้นกรรมในชาติภพนั้น พญาฉัททันต์ทนเจ็บปวดเป็นที่เวทนาการ จนเมื่อพรานนำงาคู่ไปถึงกาสิกกรัฐ แล้วพญาช้างก็ขาดใจตาย
เสยยชาดก ชาดกว่าด้วยคบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
เมื่ออำมาตย์ผู้หนึ่งได้มีโอกาสไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงตรัสถามถึงเรื่องการถูกใส่ร้ายจนต้องราชทัณฑ์ “ แม้หม่อมฉัน จะถูกจองจำใส่โซ่ตรวน แต่สิ่งนี้กลับทำให้หม่อมฉันได้รับประโยชน์ คือได้โอกาสปฏิบัติธรรม จนได้เห็นดวงตาแห่งธรรมพะยะค่ะ ”
มสกชาดก ชาดกว่าด้วยมีศัตรูผู้มีปัญญาดีกว่ามีมิตรโง่
อันชื่อว่ามนุษย์ย่อมมีทั้งดีและร้าย เมื่อมีคนที่ทำกรรมดีก็มีคนที่ทำกรรมชั่วเช่นกัน ครั้งหนึ่งเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวมคธได้เกิดเรื่อพิสดารขึ้น
ปัญจภีรุกชาดก ชาดกว่าด้วยความสวัสดี
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระสูตรว่าด้วยการประเล้าประโลมของมารธิดา ณ อัชปาลนิโคตธ