อานิสงส์สร้างเจดีย์เป็นพุทธบูชา
ผู้ใดบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก แม้ยังดำรงพระชนม์อยู่หรือว่าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม ถ้าหากว่าได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุมีประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดด้วยจิตอันเลื่อมใส ผลแห่งบุญนั้นก็มีค่าเสมอกัน เพราะฉะนั้นท่านจงทำพระสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วตั้งใจบูชาด้วยจิตที่เลื่อมใสเถิด ผลบุญเป็นอันมากก็จะเป็นของท่าน
มุณิกชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอายุยืน
มุณิกชาดก เป็นเรื่องของหมูมุณิกะ ซึ่งถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารดีเลิศและได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี และทำให้โคจุฬโลหิตเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในชะตาของมันซึ่งต่างจากหมู แต่ถ้ามันรู้ความจริงว่าหมูมุณิกะถูกเลี้ยงไว้เพื่อฆ่า...มันจะทำอย่างไร มันจะช่วยหมูมุณิกะหรือไม่
นิโครธมิคชาดก ชาดกว่าด้วยการเลือกคบ
นิโครธมิคชาดก บางครั้งการเคร่งครัดต่อกฏระเบียบข้อบังคับมากเกินไปจนลืมนึกถึงเหตุและผลที่สมควร ก็กลับกลายเป็นเรื่องที่ขาดคุณธรรมไปได้ ติดตามเรื่องราวการปกครองเหล่าบริวารของพญากวางสาขะและพญากวางนิโครธะ ชึ่งให้ข้อคิดและสามารถนำมาปรับใช้กับหลายๆ เหตุการณ์ในปัจจุปันได้
มาลุตชาดกว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่
มาลุตชาดก ขึ้นชื่อว่า ทิฐิมานะ นั้นถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้วก็ยากที่จะแก้ไขได้ตราบเท่าที่ยังหลงยึดมั่นแต่ความคิดเห็นของตัวเป็นหลัก ดังตัวอย่างใน มาลุตชาดก ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
ขัลลฏิยชาดกว่าด้วยความหลงผิดลุ่มหลงในอบายมุข
ขัลลฏิยชาดก เป็นเรื่องความหลงผิดของสตรีนางหนึ่ง ซึ่งนางหลงประกอบมิจฉาชีพและทำจนคุ้นชิน ความสำนึกในบาปบุญคุณโทษก็หมดสิ้นไป เมื่อได้มาในสิ่งที่ต้องการ ก็ยิ่งหลงทำผิด ทำบาปเพิ่มมากยิ่งขึ้น จนเป็นเหตให้นางไปเกิดเป็นนางเวมานิกเปรต
นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว
เมื่อฤดูฝนอย่างกรายมาถึงพระภิกษุทั้งหลายก็อยู่จำพรรษาตามพุทธบัญญัติ มิได้ออกเที่ยวจาริกที่ใดๆได้ตามปกติเป็นเวลานาน 3 เดือน ครั้นวสันตฤดูผ่านพ้นภิกษุในพระเชตะวันมหาวิหารก็พร้อมที่จะเดินทางออกไปเผยแผ่พุทธธรรมดังที่เคยกระทำต่อเนื่องกันมาอีกครั้ง
โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ณ ชนบทแคว้นโกศลมีหมู่บ้านชาวประมงประมาณ 1,000 ครอบครัว อาศัยอยู่ด้วยความผาสุกตลอดมา ครั้นต่อมาหญิงคนหนึ่งในหมู่บ้านได้ตั้งครรภ์ นับตั้งแต่นั้นมาทุกครอบครัวต่างก็ทำมาหากินฝืดเคืองลำบากมากขึ้นตามลำดับ
วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
พุทธกาลสมัยในขณะที่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขจรขจายไปทั่วแว่นแคว้นดินแดนชมพูทวีป ยังความร่มเย็นเป็นสุขด้วยรสแห่งธรรมที่องค์พระศาสดาตรัสรู้นั้น แผ่นดินมคธกลับผลัดเปลี่ยนอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารอันเป็นองค์ศาสนูปถัมภกมาเป็นโอรสนามพระเจ้าอชาตศัตรู
กัฏฐหาริชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษแห่งการแบ่งชนชั้น
ณ ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนานั้นยังมีการถือชนชั้นกีดกันวรรณะกันอย่างรุนแรงแม้แต่ในหมู่พระประยูรญาติขององค์พระพุทธศาสดาเอง อุษาสางวาระหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอดส่องพระญาณก็ทรงพบว่า ความทุกข์เวทจากวรรณะได้เกิดกับพระญาติแห่งศากยวงศ์
เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา
“ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก