อยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม
ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุสี่ที่ไม่บริสุทธิ์จึงเสื่อมสลายตลอดเวลา ทำให้ต้องหา ธาตุสี่จากภายนอกมาเติมเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด ดังที่เราต้องประกอบกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติมธาตุสี่ แต่กายนั้นก็ทำกรรมตามที่ใจของเราเป็นตัวสั่งการ ส่วนของใจทำหน้าที่รู้และคิด ส่วนของกายพูดและทำ
มงคลที่ ๙ มีวินัย - อานิสงส์แห่งศีล
พระปัญจสีลสมาทานิยเถระ เกิดเป็นคนยากไร้ ต้องทำงานรับจ้างอยู่ในนครจันทวดี แต่ท่านเป็นคนมีปัญญา สามารถสอนตนเองได้และรู้ถึงโทษภัยในสังสารวัฏ จึงปรารถนาอยากบวช แต่ก็ยังหาโอกาสไม่ได้ จึงคิดว่า เพราะเราเป็นคนยากไร้ ต้องทำงานรับจ้างเลี้ยงชีวิตไปวันหนึ่งๆ ไทยธรรมของเราที่จะมาทำทานก็ไม่มี จึงไม่สามารถให้ทานได้ อย่างไรก็ตาม ในภพชาตินี้อย่างน้อยเราก็ยังสามารถรักษาศีล ๕ ให้บริบูรณ์ได้
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๑
พญาราชสีห์ได้เหยื่อและกลับมายังถ้ำ เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ภายในถ้ำ จึงคิดว่า "ในป่าแห่งนี้ ไม่มีสัตว์อื่นที่มีความสามารถจะมานั่งกลางอากาศในที่อยู่ของเราได้ บุรุษนี้ช่างยิ่งใหญ่จริงหนอ มานั่งขัดสมาธิภายในถ้ำของเรา และมีรัศมีกายสว่างไสวแผ่ไปโดยรอบ เราไม่เคยเห็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ถึงเพียงนี้ สงสัยบุรุษนี้คงเป็นยอดมหาบุรุษของโลก"
กำหนดการวันลอยกระทง ณ วัดพระธรรมกาย (วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
ขอเชิญร่วมพิธีลอยกระทงธรรม และฉลองชัยสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 (วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
หลักการอธิษฐานจิต
การอธิษฐานจิต เป็นการเจริญรอยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ครั้งที่พระองค์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ คือทุกครั้งที่พระองค์ทรงกระทำความดี ก็จะทรงอธิษฐานจิตเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายในการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (มหาเศรษฐีเทพบุตร)
การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อให้เห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ให้ภิกษุทั้งหลายเถิด
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(7)
ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ก็ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ก็ทำได้ยาก พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษ พวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้ยากแสนยาก เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ และพวกอสัตบุรุษจึงต่างกัน พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์
ความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย
คำว่า ธรรมกาย เป็นศัพท์สมาส ที่อาจแปลเป็นคำคุณศัพท์ว่า ผู้มีธรรมเป็นกาย หรืออาจแปลเป็นคำนามก็ได้ว่า กายแห่งธรรม กายคือธรรมหรือ กายที่ประกอบด้วยธรรม
ภพสาม คุกใหญ่ของสรรพสัตว์
ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ ผู้ทำบาปอกุศล ย่อมเข้าถึงนรก ผู้สั่งสมความดีเป็นเหตุสุคติ ย่อมไปสู่สวรรค์ ผู้ไม่มีกิเลสอาสวะ ย่อมปรินิพพาน