มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ปีใหม่่นี้ สร้างบารมีกันต่อไป
การที่จะให้พ้นจากภัยดังกล่าว เราจะต้องสั่งสมบุญให้มากๆ มีความหนักแน่นตั้งมั่นอยู่ในเส้นทางแห่งความดี รักในการประพฤติปฏิบัติธรรม หมั่นนั่งธรรมะทุกๆ วัน อย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว หากตั้งใจมั่นได้เช่นนี้ ย่อมจะพบกับความสุขสวัสดีอย่างแน่นอน
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - สังฆทานประเสริฐกว่าปาฏิปุคคลิกทาน
ถ้าภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ ก็ต้องถูกตำหนิเหมือนกัน ส่วนภิกษุใดแม้จะพำนักอยู่ที่วัดใกล้บ้าน ไม่ได้เป็นผู้บิณฑบาตเป็นวัตร ไม่ได้สมาทานธุดงควัตร ไม่ได้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมอินทรีย์ มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ก็สมควรได้รับการสรรเสริญ ภิกษุรูปนั้นเป็นทักขิไณยบุคคลอันเยี่ยม
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร - สงเคราะห์บุตรให้เข้าถึงธรรม
จงเลือกเอาว่า ต้องการให้ลูกของเราเป็นคนดีในระดับใด เรามีสิทธิ์เลือก จะให้เป็นคนดีแบบทางโลก หรือเป็นคนดีที่แท้จริง ที่สมบูรณ์ทั้งทางโลกและทางธรรมก็แล้วแต่เรา เพราะพ่อแม่คือผู้เปิดโลกให้แก่ลูก แต่ถ้าจะเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีตามแบบอย่างของบัณฑิตทั้งหลาย ต้องแนะนำให้ลูกปฏิบัติธรรม ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๓ )
อันที่จริง ตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์ ล้วนเป็นของสมมติ เพื่อไว้ใช้สร้างบารมี ย่นย่อหนทางพระนิพพานให้สั้นลง แต่ผู้ไม่รู้ กลับใช้ก่อกรรมทำบาปอกุศล แม้บุญเก่าจะทำมาดีให้ได้เกิดเป็นพระราชา แต่ถ้าประมาทใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางที่ผิด ย่อมมีทุคติเป็นที่ไป
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ใจที่เลื่อมใสปิดอบายภูมิ
ในยุคนั้น พระสุสัญญกเถระบังเกิดในตระกูลมีชื่อเสียงตระกูลหนึ่ง เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ที่ตรัสให้เห็นภัยในวัฏสงสาร และอานิสงส์ของการทำใจให้เลื่อมใส ท่านเกิดศรัทธาอย่างยิ่งจึงคิดว่า เวลาชีวิตของมนุษย์นี้ ประเดี๋ยว ก็วันประเดี๋ยวก็คืน ควรที่เราจะรู้จักจับแง่คิดในการเอาบุญ รู้จักระวังไม่ให้อกุศลบังเกิดขึ้นในใจ ตั้งแต่นั้นมา ท่านตั้งใจสำรวมระวังตลอดเวลา ไม่ให้อกุศลทั้งหลายเข้ามาในใจของตน
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๘ )
ดูก่อนเทพธิดาอาสา ท่านจงนำความหวังในสุธาโภชน์ในตนออกเสีย เทพธิดาเช่นท่าน ยังไม่สมควรอาสนะและน้ำ สุธาโภชน์จักมีแต่ที่ไหนเล่า ท่านจงไปเสียเถิด ท่านไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เทพธิดาอาสาถูกท่านโกสิยดาบสรุกรานเช่นนี้แล้ว ไม่อาจที่จะอยู่ ที่นั่นอีกต่อไปได้ จึงต้องอันตรธานหายไป
สวรรค์ชั้นดุสิตหรือดุสิตบุรี ดีอย่างไร?
ต้นแบบแห่งความดี
บุคคลพึงเห็นโทษในการปฏิบัติผิดทาง ควรศึกษาไตรสิกขา เพื่อละความดำริผิด ควรศึกษาวิเวก และประพฤติวิเวกอันเป็นกิจของพระอริยเจ้า บุคคลผู้ไม่มีความห่วงใยในกามทั้งหลาย ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้โดยยาก
พระมหากัปปินเถระ
บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ
คนมักโกรธย่อมไม่เป็นที่รัก
บุคคลฆ่าความโกรธได้ย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษมียอดหวาน เพราะบุคคลฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก